bih.button.backtotop.text

ดิจิตอลแมมโมแกรม: กุญแจสำคัญในการต่อสู้มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม จัดเป็นโรคที่ยากจะระบุถึงสาเหตุและวิธีการป้องกัน อีกทั้งจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ในระยะเริ่มต้น และยากที่จะตรวจพบได้ด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะช่วยให้พบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นและทำให้ผู้ป่วยมี โอกาสรอดชีวิตมากขึ้น จึงถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

ปัจจุบันการตรวจหามะเร็งได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยระบบดิจิตอลแมมโมแกรมแบบมี "ซีเอดี" ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะช่วยให้การตรวจหาเนื้อร้ายที่เป็นมะเร็งนั้นง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อนำมาใช้ร่วมกับการเอกซเรย์เต้านมแบบทั่วไป (แมมโมแกรม)
 

ดิจิตอลแมมโมแกรม แตกต่างจากแมมโมแกรมทั่วไปอย่างไร

การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นการเอกซเรย์เต้านม โดยเครื่องแมมโมแกรมทั่วไปจะบันทึกภาพไว้บนแผ่นฟิล์มซึ่งใช้เวลามากกว่าการใช้เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมที่จะบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล ทำให้สามารถมองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น

ทั้งนี้เมื่ออ่านผลของฟิล์มเอกซเรย์จากเครื่องแมมโมแกรมแล้ว โปรแกรม "ซีเอดี" จะสแกนภาพที่ได้จากการเอกซเรย์ของเครื่องแมมโมแกรมแบบดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเพื่อช่วยหาความผิดปกติ


ข้อได้เปรียบของการใช้เครื่อง "ซีเอดี"

เนื่องจากภาพถ่ายของเครื่องดิจิตอลนั้นมีความคมชัดสูง จึงช่วยให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน และ "ซีเอดี" ก็จะส่งผลให้การอ่านผลการตรวจสอบมีความถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้นและเกิดข้อผิดพลาดน้อยลง ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องได้รับการทดสอบด้วยเครื่องแมมโมแกรมซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลการตรวจสอบเหมือนที่ผ่านมา

ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี บางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเต้านมก่อนวัย 40 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น เช่น มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งมาก่อน

คุณสามารถรับบริการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยระบบดิจิตอลแมมโมแกรมแบบมี "ซีเอดี" ได้แล้ววันนี้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs