bih.button.backtotop.text

ไขข้อข้องใจ หมดประจำเดือนก่อนวัยได้หรือ

22 มกราคม 2553

เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ผู้หญิงหลายคนเริ่มรู้สึกว่าสุขภาพเสื่อมถอยลงอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการนอนหลับ จิตใจหดหู่ เหงาเศร้า และเหนื่อยสะสม อาการเหล่านี้อาจไม่ได้เป็นผลมาจากความตึงเครียดเท่านั้นแต่อาจเป็นผลลัพธ์ จากการหมดประจำเดือนที่มาเยือนก่อนวัยอันควรก็เป็นได้

เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ผู้หญิงหลายคนเริ่มรู้สึกว่าสุขภาพเสื่อมถอยลงอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการนอนหลับ จิตใจหดหู่ เหงาเศร้า และเหนื่อยสะสม อาการเหล่านี้อาจไม่ได้เป็นผลมาจากความตึงเครียดเท่านั้นแต่อาจเป็นผลลัพธ์ จากการหมดประจำเดือนที่มาเยือนก่อนวัยอันควรก็เป็นได้ นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ สูตินรีแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนต่อมไร้ท่อและการเจริญพันธุ์ ให้ความรู้กับเราไว้อย่างน่าสนใจ
 

Better Health: เมื่อไรจึงจะถือว่าผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนวัยคะ
นพ. พันธ์ศักดิ์: อายุเฉลี่ยของผู้หญิงไทยที่จะหมดประจำเดือน คือ ประมาณ 50 ปี โดยฮอร์โมนเพศหญิงจะเริ่มลดก่อนหมดประจำเดือนประมาณ 5 ปี ช่วงนี้จะมีอาการกวนใจต่าง ๆ หลายประการ แต่สำหรัใครที่มีอาการตั้งแต่ก่อน 40 ปีเราถือว่าเข้าข่ายหมดประจำเดือนก่อนวัย
 

Better Health: การหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรมีสาเหตุมาจากอะไรคะ
นพ. พันธ์ศักดิ์: ความสมบูรณ์ และความเป็นปกติของประจำเดือนขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการ ได้แก่ ฮอร์โมนจากรังไข่ สภาพของมดลูก และสุขภาพโดยรวม เมื่อสุขภาพโดยรวมของผู้หญิงดี ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะผลิตตอนกลางคืนเมื่อเรานอนหลับสนิท ก็จะหลั่งออกมาดี รังไข่ก็ทำงานเป็นปกติเพราะได้รับการกระตุ้น การผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนก็เป็นไปตามปกติ วงจรของการตกไข่ก็เกิดขึ้น เมื่อสุขภาพดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ประจำเดือนก็จะมาตามปกติแต่ปัจจุบันสุขภาพโดยรวมของผู้หญิงยังไม่ดีนัก หลายคนทำงานหนักนอนดึก รับประทานอาหารไม่ถูกส่วน ไม่ออกกำลังกาย ผลกระทบก็จะตกแก่ต่อมไฮโปธาลามัสในสมองซึ่งเป็นตัวหลั่งฮอร์โมนที่จะมาควบคุมต่อมใต้สมอง หรือต่อมพิทูอิตารี เมื่อวิถีชีวิตเป็นแบบนี้ ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ได้ไม่ดีต่อเนื่องหลายปีเข้า ไม่ช้ารังไข่ก็หยุดทำงานเป็นที่มาของการหมดประจำเดือนก่อนวัย
 

Better Health: การหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรมีสาเหตุมาจากอะไรคะ
นพ. พันธ์ศักดิ์: ความสมบูรณ์ และความเป็นปกติของประจำเดือนขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการ ได้แก่ ฮอร์โมนจากรังไข่ สภาพของมดลูก และสุขภาพโดยรวม เมื่อสุขภาพโดยรวมของผู้หญิงดี ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะผลิตตอนกลางคืนเมื่อเรานอนหลับสนิท ก็จะหลั่งออกมาดี รังไข่ก็ทำงานเป็นปกติเพราะได้รับการกระตุ้น การผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนก็เป็นไปตามปกติ วงจรของการตกไข่ก็เกิดขึ้น เมื่อสุขภาพดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ประจำเดือนก็จะมาตามปกติ  แต่ปัจจุบันสุขภาพโดยรวมของผู้หญิงยังไม่ดีนัก หลายคนทำงานหนักนอนดึก รับประทานอาหารไม่ถูกส่วน ไม่ออกกำลังกาย ผลกระทบก็จะตกแก่ต่อมไฮโปธาลามัสในสมองซึ่งเป็นตัวหลั่งฮอร์โมนที่จะมาควบคุมต่อมใต้สมอง หรือต่อมพิทูอิตารี เมื่อวิถีชีวิตเป็นแบบนี้ ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ได้ไม่ดีต่อเนื่องหลายปีเข้า ไม่ช้ารังไข่ก็หยุดทำงานเป็นที่มาของการหมดประจำเดือนก่อนวัย
 

Better Health: เราจะทราบได้อย่างไรวาหมดประจำเดือนก่อนวัย
นพ. พันธ์ศักดิ์: ส่วนมาก คนที่เป็นจะไม่ค่อยรู้ตัว ลองสังเกตคนรอบข้างหากคนรอบข้างเริ่มถอยห่างจากเรา หรือรู้ตัวว่าเราอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยหงุดหงิดง่าย เศร้า หดหู่อย่างไม่มีเหตุผล แบบนี้น่าสงสัย โดยเฉพาะเมื่อพบร่วมกับการมีประจำเดือนน้อยลงหรือรอบเดือนแต่ละรอบห่างขึ้น เมื่อมาพบแพทย์ จะมีการซักประวัติก่อนว่า อายุเท่าไร การดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง รับประทานยาอะไรเป็นประจำ จากนั้นก็จะตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจริง ๆ จะได้วางแผนการรับมือให้ถูกต้อง
 

Better Health: ถ้ารู้สึกว่ามีอาการแล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยได้หรือไม่
นพ. พันธ์ศักดิ์: การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมล้วนแต่มีผลดีทั้งนั้น แต่จะช่วยเรื่องของการหมดประจำเดือนก่อนวัยได้มากขนาดไหน ต้องขึ้นอยู่กับว่าระดับฮอร์โมนลดลงแค่ไหน และผลกระทบเกิดขึ้นหรือยัง บางรายตรวจแล้วพบว่าฮอร์โมนเริ่มลดลง แต่กระดูกยังไม่เสียหาย กรณีนี้แค่เปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจเพียงพอ แต่ถ้าพบว่า ระดับฮอร์โมนต่ำมากเกินกว่าที่จะยังคงมีสุขภาพดีได้ เช่น กระดูกบางลงมาก ผิวแห้ง ผมร่วง ผมบาง แพทย์ก็จะพิจารณาให้ฮอร์โมนเสริมเข้าไปถ้าไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ เช่น เป็นเนื้องอกที่สัมพันธ์ฮอร์โมน เป็นมะเร็งที่สัมพันธ์กับฮอร์โมน มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดอุดตันได้ง่าย เป็นต้น
 

Better Health: สุดท้ายคุณหมอมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างคะ
นพ. พันธ์ศักดิ์: เมื่อก่อนจะแนะนำกันว่า เมื่อประจำเดือนผิดปกติแล้วควรมาปรึกษาแพทย์แต่ปัจจุบัน อายุ 40 หรือ 45 ปี ก็ควรมาพบแพทย์ได้แล้วเพื่อดูแลตัวเอง ดูแลสุขภาพให้เราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเต็มสมรรถนะสมวัย เพราะปรัชญาในการดูแลสุขภาพของผู้หญิงวัยนี้อยู่ที่การป้องกันอะไรที่ป้องกันได้ ส่วนอะไรที่ป้องกันไม่ได้ ก็ขอให้ชะลอไว้ให้นานที่สุด มุมมองของคุณต่อสุขภาพต้องเปลี่ยน อย่าคิดว่าต้องป่วยจึงจะมาปรึกษาแพทย์ ขอให้คิดว่าต้องมาปรึกษา เพื่อจะได้ไม่ป่วยเป็นโรคที่ไม่ควรจะเป็น บทบาทของแพทย์ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การรักษาโรคเท่านั้น แต่ยังจะช่วยป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ
ของคุณให้ดีขึ้นด้วย 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs