bih.button.backtotop.text

คางทูม หัด และหัดเยอรมัน (MMR) ป้องกันได้ ตั้งแต่เกิด!



วัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน

 
โรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน คือโรคอะไร?
 
  คางทูม หัด หัดเยอรมัน
เชื้อไวรัสก่อโรค     Mumps     Measles     Rubella
การติดต่อ ละอองจากการหายใจ 
การสัมผัสโดยตรง
ละอองจากการหายใจ
การจาม
การสัมผัสโดยตรง
ละอองจากการหายใจ
การจาม
การพูดคุย
การสัมผัสโดยตรง
อาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย เบื่ออาหาร และอาจมีต่อมน้ำลายโตตามมาภายใน 48 ชั่วโมง (ระยะฝักตัว 12-25 วันนับจากการติดเชื้อจนแสดงอาการ)     ไข้ ไอ ภาวะเยื่อบุเมือกโพรงจมูกอักเสบ (coryza) และมักมีอาการไข้ออกผื่น (enanthem) ตามมาภายใน 48 ชั่วโมง ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีอาการไข้ออกผื่น (enanthem) ตามมาภายใน 1-5 วัน
มักเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่  
อาการแทรกซ้อน การได้ยินบกพร่อง ไข้สมองอักเสบ ติดเชื้อในสมอง อาการแทรกซ้อนมักรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 20 ปี โดยมักมีการติดเชื้อที่หู และท้องเสีย หากอาการรุนแรง อาจพบอาการปอดบวม และไข้สมองอักเสบ ในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้แท้ง หรือมีการส่งผ่านเชื้อไปยังลูก ก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคตับ เป็นต้น  นอกจากนี้ พบว่า 70% ของผู้ป่วยเพศหญิงจะพบอาการปวดข้อ (arthritis) ตามมา และอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อที่สมอง หรือปัญหาเลือดออก
 


วัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน คืออะไร?

ในปัจจุบันมีวัคซีนรวมที่ประกอบไปด้วยเชื้อไวรัสมีชีวิตที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ที่ผลิตจากเชื้อไวรัส Mump, Measles และ Rubella มีข้อบ่งใช้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ อีกทั้งยังเป็นวัคซีนที่สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย จัดเป็นวัคซีนที่ต้องให้ในเด็กทุกคน

จากการศึกษาพบว่า หลังการให้วัคซีน 2 เข็มในเด็ก จะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน โรคหัดจนถึงในเด็กวัยเรียนและผู้ใหญ่ สำหรับภูมิคุ้มกันต่อโรคคางทูม หลังได้รับเข็มที่ 2 จะมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ร้อยละ 66-95 และสำหรับโรคหัดเยอรมันนั้น หลังได้รับวัคซีนเพียง 1 เข็ม จะมีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต
 


ใครควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน?

เด็ก
  • แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม โดยเข็มแรกฉีดเมื่ออายุ 12-15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี (ตำราวัคซีนประเทศไทย 2562 แนะนำเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง)
  • หากมีการระบาดของโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน สามารถให้เข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน และให้ซ้ำเมื่ออายุ 12 เดือน และ 2 ปีครึ่งตามปกติ
ผู้ใหญ่
  • หากไม่เคยหรือไม่ทราบประวัติมาก่อน แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
  • ผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ และยังไม่เคยมีประวัติการได้รับวัคซีน แนะนำให้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม และควรฉีดก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน
  • หากมีการระบาดของโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
 


อาการข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน คืออะไร?

อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ไข้ มักเกิดอาการภายใน 6-12 วันหลังได้รับวัคซีน  ผื่นคัน อาการแพ้ หรือข้ออักเสบ เป็นต้น
 


ใครไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน?

  • ผู้ที่เคยมีประวัติแพ้วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน และคางคูม
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันภายในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งที่มีผลต่อไขกระดูก ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีระดับ CD4+ น้อยกว่า 200 cells/microL. หรือน้อยกว่าร้อยละ 15 เป็นต้น
  • ผู้ที่ได้รับการถ่ายเลือดหรือได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือด (antibody-containing blood product) ภายในระยะเวลา 3-11 เดือน เนื่องจากอาจมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของโรคหัด หัดเยอรมัน และคางคูม
  • ผู้ที่เจ็บป่วยรุนแรง
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา neomycin แบบ anaphylaxis

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชม.


Contact information: Drug Information Service ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Tel: +66(0) 2 011 3399 Email: [email protected]
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:



แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs