bih.button.backtotop.text

ภาวะกล้ามเนื้อพร่องในผู้สูงวัย

ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง (Sarcopenia) หมายถึง ภาวะที่มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงตามวัยอย่างต่อเนื่อง ภาวะนี้จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการผู้สูงวัย (geriatric syndrome) ที่พบได้บ่อย โดยมีรายงานว่าพบภาวะกล้ามเนื้อพร่องได้ประมาณเกือบ 1 ใน 3 ของผู้สูงวัยทั่วไป และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูงวัยอายุ 80 ปีขึ้นไป

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของภาวะกล้ามเนื้อพร่อง

  • อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อจะลดลงตามธรรมชาติ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • การไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือขาดการออกกำลังกาย ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อฝ่อลีบและอ่อนแรงลง
  • โรคประจำตัวเรื้อรังหลายโรค เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง หรือโรคมะเร็ง อาจเพิ่มความเสี่ยงให้มวลกล้ามเนื้อลดต่ำเร็วกว่าปกติ
  • ภาวะทุพโภชนาการหรือโรคอ้วน การขาดสารอาหารบางประเภท (เช่น ขาดวิตามินดี) ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงได้ ขณะเดียวกันผู้สูงวัยที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนก็อาจมีไขมันแทรกในเนื้อกล้ามเนื้อมากขึ้นและสูญเสียกล้ามเนื้อคุณภาพดีได้เร็วกว่าปกติ
  • การรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ หากร่างกายได้รับโปรตีนหรือสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายซ่อมแซมหรือสร้างกล้ามเนื้อใหม่ได้น้อย ผู้สูงวัยมักเผชิญปัญหาเรื่องฟัน การย่อย หรือความอยากอาหารลดลง ทำให้ได้รับโปรตีนไม่พอเพียงต่อความต้องการ
ช่วงเริ่มแรกของภาวะกล้ามเนื้อพร่อง ผู้สูงวัยบางรายอาจยังไม่ทันสังเกตความผิดปกติชัดเจน แต่เมื่อภาวะนี้เป็นมากขึ้น อาการสำคัญที่มักพบ ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ลุกขึ้นจากเก้าอี้ลำบาก เดินช้าลง ยืนนานๆ หรือเดินนานๆ ไม่ค่อยได้เหมือนเดิม การทรงตัวไม่ดี ล้มเสียหลักได้ง่าย น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มและกระดูกหัก เพิ่มโอกาสการเจ็บป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในผู้สูงวัยได้มากขึ้นด้วย
 
 
สามารถตรวจวิเคราะห์ได้หลายแบบ ตัวอย่างเช่น
  • การวัดแรงบีบมือ ใช้เครื่องมือ handgrip dynamometer บีบวัดแรงมือ ซึ่งค่าแรงบีบมือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานบ่งชี้ถึงแรงกล้ามเนื้อทั้งร่างกายที่ลดลง
  • การวัดมวลกล้ามเนื้อ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การวิเคราะห์ความต้านทานไฟฟ้า (bioelectrical impedance analysis: BIA) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนผ่านร่างกายเพื่อคำนวณสัดส่วนกล้ามเนื้อกับไขมัน
  • การออกกำลังกาย ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันและบรรเทาภาวะกล้ามเนื้อพร่อง โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบต้านแรงหรือฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ (resistance/strength training) เช่น การยกน้ำหนัก การใช้ยางยืด การลุกนั่งจากเก้าอี้ เป็นต้น
  • โภชนาการที่ดีและการรับประทานโปรตีนที่เพียงพอ นอกจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว จำเป็นต้องรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ โดยปริมาณโปรตีนที่แนะนำคือประมาณ 1.0-1.3 กรัมต่อน้ำหนักตัว
    1 กิโลกรัมต่อวัน (เช่น ผู้สูงวัยหนัก 60 กิโลกรัม ควรได้โปรตีนประมาณ 60-78 กรัมต่อวัน)
  • การเสริมวิตามินดี ในผู้สูงวัยที่มีภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกระดูก โดยผู้สูงวัยสามารถรับวิตามินดีจากแสงแดด อาหาร (เช่น ปลาที่มีไขมันสูง ไข่แดง นม) หรือรับประทานวิตามินเสริมตามคำแนะนำของแพทย์
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและดูแลสุขภาพทั่วไป หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและสุขภาพโดยรวม ควบคุมและรักษาโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคข้อ ให้มีอาการคงที่ เพราะโรคเหล่านี้หากควบคุมไม่ดีจะเร่งให้กล้ามเนื้อเสื่อมลงได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และกระตุ้นให้ผู้สูงวัยทำกิจกรรมเคลื่อนไหวตามความเหมาะสมในชีวิตประจำวัน (เช่น ทำสวน เดินเล่น ทำงานบ้านเบาๆ) เพื่อให้ร่างกายได้ใช้งานกล้ามเนื้ออยู่เสมอ
  • Cruz-Jentoft AJ, Bahat G, Bauer J, Boirie Y, Bruyère O, Cederholm T, Cooper C, Landi F, Rolland Y, Sayer AA, Schneider SM, Sieber CC, Topinkova E, Vandewoude M, Visser M, Zamboni M; Writing Group for the European Working Group on Sarcopenia in Older People 2 (EWGSOP2), and the Extended Group for EWGSOP2. Sarcopenia: revised European consensus on definition and diagnosis. Age Ageing. 2019 Jan 1;48(1):16-31. doi: 10.1093/ageing/afy169. Erratum in: Age Ageing. 2019 Jul 1;48(4):601. doi: 10.1093/ageing/afz046. PMID: 30312372; PMCID: PMC6322506.
  • Cho MR, Lee S, Song SK. A Review of Sarcopenia Pathophysiology, Diagnosis, Treatment and Future Direction. J Korean Med Sci. 2022 May 9;37(18):e146. doi: 10.3346/jkms.2022.37.e146. PMID: 35535373; PMCID: PMC9091430.
  • Cruz-Jentoft AJ, Sayer AA. Sarcopenia. Lancet. 2019 Jun 29;393(10191):2636-2646. doi: 10.1016/S0140-6736(19)31138-9. Epub 2019 Jun 3. Erratum in: Lancet. 2019 Jun 29;393(10191):2590. doi: 10.1016/S0140-6736(19)31465-5. PMID: 31171417.
แก้ไขล่าสุด: 09 กรกฎาคม 2568

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs