bih.button.backtotop.text

ภาวะเด็กตัวเตี้ย

ภาวะเด็กตัวเตี้ย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะตัวเตี้ยตามพันธุกรรม ภาวะตัวเตี้ยจากการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้า ,โรคเรื้อรัง,หรือความผิกปกติทางพันธุกรรมบางอย่าง 

อัตราการเจริญเติบโตของเด็กแต่ละวัย
อายุ อัตราการเพิ่มความสูง/ปี
แรกเกิด-1 ปี 25 ซม./ปี
1-2 ปี 12 ซม./ปี
2-4 ปี 7 ซม./ปี
ก่อนเข้าวัยรุ่น 5-6 ซม./ปี
ช่วงวัยรุ่น เพศหญิง 8-12 ซม./ปี
เพศชาย 10-14ซม./ปี
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกตัวเล็กหรือเตี้ย ไม่สูงขึ้นเลยในช่วง 1-2 ปี หรือความสูงเฉลี่ยต่อปีตามอายุข้างต้นน้อยกว่าเกณฑ์โดยเฉลี่ย หรือเมื่อดูกราฟการเจริญเติบโตแล้วความสูงต่ำกว่าเกณฑ์ตามอายุนั้นๆ หรือความสูงเบี่ยงเบนไปจากเส้นกราฟเดิมแนะนำให้พาลูกมาพบแพทย์ ซึ่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำและวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อช่วยเหลือแก้ไขให้ตรงตามสาเหตุนั้นๆ
เมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกมาพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหาร เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เด็กเจริญเติบโตไม่สมวัย และเมื่อวินิจฉัยหาสาเหตุได้แล้ว แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับ
  1. โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังและส่งเสริมให้ลูกรับประทานอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. การแบ่งเวลาในการทำกิจวัตรประจำวันของลูก
  • ชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมในแต่ละวันเพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต
  • การออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการเจริญเติบโต
  1. การดูแลลูกด้วยความรักและเอาใจใส่ อันจะเป็นพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมด้านจิตใจและพัฒนาการ ทำให้ลูกเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย
ในปัจจุบันการรักษาด้วยฮอร์โมนการเจริญเติบโตมีรูปแบบยาดังนี้
  1. ยาฉีด
  2. ยารับประทาน

ทั้งนี้ขึ้นกับความผิกปกติของฮอร์โมนแต่ละชนิด

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.15 of 10, จากจำนวนคนโหวต 40 คน

Related Health Blogs