bih.button.backtotop.text

ป้องกันกระดูกร้าวด้วยวิตามินดีและแคลเซียม

18 มกราคม 2553

แม้ว่าวิตามินดีจะช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่ผลวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่าการรับประทานวิตามินดีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยป้องกันกระดูกร้าวได้ ขณะที่การรับประทานวิตามินดีร่วมกับแคลเซียมจะช่วยลดความเสี่ยงได้แม้กระทั่งในกรณีของผู้ที่เคยกระดูกร้าวมาก่อน

แม้ว่าวิตามินดีจะช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่ผลวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่าการรับประทานวิตามินดีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยป้องกันกระดูกร้าวได้ ขณะที่การรับประทานวิตามินดีร่วมกับแคลเซียมจะช่วยลดความเสี่ยงได้แม้กระทั่งในกรณีของผู้ที่เคยกระดูกร้าวมาก่อน
 

นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 70 ปีกว่า 68,000 คน พบว่าการได้รับวิตามินดีเพียงอย่างเดียวในปริมาณ 10 - 20 ไมโครกรัมต่อวันไม่สามารถป้องกันการเกิดกระดูกร้าวได้ ขณะที่การได้รับแคลเซียมและวิตามินดีควบคู่ไปด้วยกันกลับสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะการแตกร้าวของกระดูกโดยรวม ซึ่งรวมถึงการร้าวบริเวณสะโพกและกระดูกสันหลัง
 

ทั้งนี้ นักวิจัยจากสถาบันทางการแพทย์ควีนส์ ประเทศอังกฤษได้ออกมาสนับสนุนผลการวิจัย พร้อมระบุว่างานวิจัยซึ่งตีพิมพ์เมื่อต้นปีในวารสาร British Medical Journal ชิ้นนี้ สอดคล้องกับความเห็นของนักวิจัยส่วนใหญ่ และเห็นว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงปริมาณการใช้ระยะเวลาที่เหมาะสม และวิธีการใช้แคลเซียมควบคู่กับวิตามินดีร่วมกันให้ได้ผลดีที่สุด end.gif

 

วิธีการใหม่ช่วยทำนายหัวใจวายในผู้หญิงได้แม่นยำกว่าเดิม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ วารสารของสมาคมแพทย์แห่งสหรัฐอเมริการายงานว่า มีการนำวิธีการใหม่มาใช้ในการทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายของผู้หญิงในอีก 10 ปีข้างหน้าได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม

วิธีการใหม่นี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ Reynolds Risk Score ซึ่งพิจารณาประวัติครอบครัว และระดับ High Sensitivity C-Reactive Protein (hs-CRP) ในกระแสเลือดซึ่งเป็นสารบ่งชี้การอักเสบในร่างกายร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ ที่แพทย์ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาทิ อายุ ระดับความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีและการสูบบุหรี่

งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า ภาวะการอักเสบเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ในผู้หญิง โดยมีการตามศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปจำนวนกว่า 24,000 คน ผลปรากฏว่า วิธีการใหม่นี้สามารถทำนายผู้มีความเสี่ยงสูงต่อหัวใจวายได้แม่นยำกว่าวิธีการเดิมจากการตามศึกษาในระยะเวลากว่า 10 ปี ปัจจุบัน นักวิจัยกำลังศึกษาเพิ่มเติมว่าวิธีการนี้จะใช้ทำนายโรคหัวใจในผู้ชายได้ด้วยหรือไม่ และหากอยากทราบว่า ในอีก 10 ปีจากนี้คุณจะมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายสักกี่เปอร์เซ็นต์ ลองคลิกเข้าไปหา Reynolds Risk Score ของตัวเองได้ที่ http://www.reynoldsriskscore.org/ end-(1).gif
 

พฤติกรรมการใช้ชีวิตของว่าที่คุณแม่ มีผลต่อการเติบโตของทารกในครรภ์

นักวิจัยจากสถาบันทางการแพทย์ Eramus ในประเทศเนเธอร์แลนด์ระบุว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เหมาะสมในระยะเริ่มต้นอาจส่งผลประทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วงสามเดือนแรก และสามารถนำไปสู่ภาวะผิดปกติอื่น ๆ ในเวลาต่อมา

งานวิจัยดังกล่าวซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Medical Association ทำการศึกษาหญิงตั้งครรภ์อายุเฉลี่ย 31 ปีที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวนกว่า 1,600 คน พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ มีภาวะขาดกรดโฟลิกและมีระดับความดันโลหิตสูง จะมีแนวโน้มทำให้ทารกในครรภ์ในช่วงสามเดือนแรกมีขนาดตัวที่เล็กกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะผิดปกติอื่น ๆ ตามมา เช่น คลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติ รวมถึงมีความผิดปกติของรก

ทั้งนี้เนื่องจากในหลายกรณีพบว่า ว่าที่คุณแม่ไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ทำให้ยังคงพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์โดยไม่รู้ตัว แพทย์จึงแนะนำว่าผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตรควรให้ความสำคัญกับการพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายและเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs