bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดเปิดช่องทรวงอก

การผ่าตัดเปิดช่องทรวงอก เป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐานที่แพทย์กระทำเพื่อให้สามารถศึกษาพยาธิสภาพภายในช่องทรวงอกได้ชัดเจน ทำให้สามารถศึกษาพยาธิสภาพปอดได้โดยตรงหรือทำผ่าตัดรักษาโรคปอด ตัดชิ้นส่วนปอดออกได้หากจำเป็น และนำเนื้อเยื่อเหล่านั้นไปตรวจสอบหาเซลล์ที่ผิดปกติ การผ่าตัดซ่อมแซมกะบังลม หรือเป็นการเข้าไปดูเพื่อหาสาเหตุของโรคเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา เช่น ก้อนในปอด มะเร็งปอด ถุงลมที่โป่งพอง ถุงลมที่แตก ลมรั่วเข้าไปในช่องบุเยื่อหุ้มปอด หรือมีของเหลวคั่งอยู่รอบปอด

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ระดับความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งมีดังต่อไป
  • มีโอกาสแผลติดเชื้อ ร้อยละ 1-5
  • มีโอกาสเลือดออก ร้อยละ 1-5
  • มีโอกาสปอดอักเสบ ร้อยละ 5-10
  • มีโอกาสเกิดลมรั่วที่ผนังปอด ร้อยละ 1-5
  • เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำที่ขา รวมทั้งมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด ร้อยละ 1-10
  • อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าร้อยละ 1
 
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากผู้ป่วยมีอาการข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้
  • หายใจลำบาก หายใจเหนื่อย
  • บริเวณแผลผ่าตัดมีเลือดออก บวม แดง หรือปวดมากขึ้น หรือมีสิ่งคัดหลั่งสีผิดปกติ
  • เจ็บหน้าอกหรืออาการเจ็บหน้าอกที่เป็นอยู่แล้วรุนแรงกว่าเดิม
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ไอเป็นเลือดหรือมีเสมหะสีผิดปกติ เช่น เหลือง เขียว
  • ไม่สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้ตามปกติ
  • มีอาการขาบวมมากขึ้นและปวด
  • มีอาการของทรวงอก หน้า คอ บวม
ผู้ป่วยต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้าน 1-2 สัปดาห์ หากมีข้อสงสัยเรื่องต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์จนเข้าใจ
  • กิจกรรม หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในการดึง ผลัก ดัน หรือยกของ ทำงานหนัก และงดขับรถประมาณ 4-6 สัปดาห์เนื่องจากมีผลต่อการหายของแผล ต้องฝึกการหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายเป็นปกติหรือเมื่อสามารถเดินขึ้น-ลงบันได 2 ชั้นได้โดยไม่มีอาการหายใจลำบากหรือเหนื่อย
  • การดูแลแผล เมื่อแพทย์อนุญาตให้อาบน้ำได้ ให้ทำความสะอาดด้วยการอาบน้ำฟอกสบู่ทุกวัน ซับแผลให้แห้ง งดการทาครีม โลชั่น หรือโรยแป้งที่แผลจนกว่าจะหายเป็นผิวหนังปกติ ติดต่อแพทย์ถ้าพบว่าแผลมีการอักเสบ บวม ปวดมากขึ้น หรือมีสิ่งคัดหลั่งสีผิดปกติออกมาจากแผล
  • การรับประทานอาหาร จำกัดตามโรคของผู้ป่วยและรับประทานอาหารสุขภาพเพื่อส่งเสริมการหายของแผลผ่าตัด
  • การรับประทานยา กรณีมียาแก้อักเสบต้องรับประทานยาจนหมด
  • การออกกำลังกาย เดินออกกำลังกายวันละ 1-2 ครั้ง งดออกกำลังกายอย่างหนักประมาณ 4-6 สัปดาห์ ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์และทีมฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเคร่งครัด
  • การมาตรวจตามนัด เพื่อติดตามอาการ การหายของแผลผ่าตัดและตัดไหม หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หายใจลำบาก หายใจเหนื่อยมากขึ้น ไอมากขึ้น มีเสมหะสีผิดปกติ หรือมีอาการอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปจากเดิมให้มาพบแพทย์ก่อนนัด
  • ผู้ป่วยควรอยู่ในประเทศไทยประมาณ 2-3 สัปดาห์ตลอดระยะเวลาการรักษา
  • แนะนำให้พักโรงแรมใกล้โรงพยาบาลเพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดจนถึงวันนัดพบแพทย์
  • ในการเดินทางกลับประเทศโดยเครื่องบิน หากผู้ป่วยนั่งชั้นประหยัดแนะนำให้เลือกที่นั่งแถวหน้าและลุกเดินบ่อยๆ ทุก 15-30 นาที รวมถึงกระดกข้อเท้า (foot ankle pump) บ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ขา
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยควรพกพายาประจำตัวอย่างเพียงพอไว้ในสัมภาระถือขึ้นเครื่องสำหรับการเดินทาง และสำรองปริมาณยาเพิ่มเติมสำหรับอีกหนึ่งหรือสองวัน รวมถึงควรพกใบสั่งยาติดตัวไว้ตลอดเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่จุดตรวจของศุลกากร
ความสำเร็จจากการทำหัตถการขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • การผ่าตัดปอดแผลเล็กโดยใช้กล้องวีดิทัศน์ช่วยผ่าตัด (video-assisted thoracoscopic surgery: VATS) แพทย์จะสอดอุปกรณ์ลักษณะเหมือนท่อที่มีกล้องติดอยู่เข้าไปทางแผลรูขนาดเล็ก เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องผ่าตัดช่องอกหรือไม่
  • การผ่าตัดปอดแบบแผลเล็ก (minimal invasive thoracotomy)

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs