bih.button.backtotop.text

การรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง

การรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation: RF ablation) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมาเป็นปกติ โดยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านสายสวนที่สอดเข้าร่างกายไปตามหลอดเลือดถึงห้องหัวใจ ปลายสายจะมีขั้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุไป ณ ตําแหน่งที่มีกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เพื่อทําลายตําแหน่งที่มีการนําไฟฟ้าผิดปกติ

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
  1. มีอาการบวม เลือดออกและติดเชื้อบริเวณที่ใส่สายสวน
  2. แพ้ยาหรือสารทึบรังสีที่ได้รับระหว่างการรักษา
  3. กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด หรือมีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
  4. มีวงจรไฟฟ้าที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นใหม่
  5. เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ
  6. เสียชีวิต

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการต่อไปนี้

1.    บริเวณที่ใส่สายสวนมีเลือดออก มีรอยฟกช้ำขึ้นใหม่หรือบวมกดเจ็บ

2.    มีสัญญาณว่าเกิดการติดเชื้อ เช่น แผลบวมแดง หรือมีไข้

3.    เจ็บหน้าอกหรือหายใจติดขัด

4.    วิงเวียนหรือหน้ามืด

ก่อนทำหัตถการ

·        ผู้ป่วยควรอยู่ในประเทศไทยประมาณ 1 สัปดาห์ตลอดระยะเวลาการรักษา

·   แนะนำให้พักโรงแรมใกล้โรงพยาบาลเพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดหรือทำหัตถการจนถึงวันนัดพบแพทย์

หลังทำหัตถการ

·        ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด และได้รับเอกสารรายงานการผ่าตัดหรือการทำหัตถการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

·        หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงในการดึง ผลัก ดัน หรือยกขึ้น รวมถึงการนั่งคุกเข่า ซึ่งอาจมีผลทําให้เลือดออกบริเวณที่แทงเข็มที่ขาหนีบ

·        ดูแลบริเวณรอยเข็มแทงที่ขาหนีบให้แห้งและสะอาดเสมอจนกว่าแผลจะหายสนิท ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการแดง บวม และปวดมาก นอกจากนี้หากมีอาการเลือดออกที่รอยเข็มแทง ให้กดบริเวณรอยเข็มอย่างน้อย 10 นาที ถ้าเลือดยังไม่หยุดให้รีบปรึกษาแพทย์

·        ในการเดินทางกลับประเทศโดยเครื่องบิน หากผู้ป่วยนั่งชั้นประหยัดแนะนำให้เลือกที่นั่งแถวหน้าและลุกเดินบ่อยๆ ทุก 15-30 นาที รวมถึงกระดกข้อเท้า (foot ankle pump) บ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ขา

·        รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยควรพกพายาประจำตัวอย่างเพียงพอไว้ในสัมภาระถือขึ้นเครื่องสำหรับการเดินทาง และสำรองปริมาณยาเพิ่มเติมสำหรับอีกหนึ่งหรือสองวัน รวมถึงควรพกใบสั่งยาติดตัวไว้ตลอดเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่จุดตรวจของศุลกากร

ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

 

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รักษาด้วยวิธีนี้

มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตหรือรับประทานยา การรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงทำให้ทราบว่าเนื้อเยื่อหัวใจจุดใดเป็นต้นเหตุให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและกำจัดเหตุของปัญหาได้ หากไม่รักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์อาจไม่สามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้ได้ผลดีที่สุด

การรับประทานยา

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs