bih.button.backtotop.text

การตรวจสมรรถภาพปอด

การตรวจสมรรถภาพปอด หรือ Pulmonary Function Testing (PFT) เป็นการตรวจการทำงานของปอด เพื่อวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคและติดตามผลการรักษา ตรวจดูความสามารถของการทำงานของปอดและประเมินว่าผู้ป่วยสามารถดมยาเพื่อผ่าตัดทั่วไปหรือผ่าตัดปอดบางส่วนในกรณีที่เป็นมะเร็งปอดได้หรือไม่

โปรแกรมการตรวจสมรรถภาพปอด

การทดสอบสมรรถภาพปอดช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของปอดและทางเดินหายใจ โดยสามารถบอกปริมาณอากาศที่ผ่านเข้าออกปอด และปริมาณของออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายโดยสามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขและกราฟ

การตรวจสมรถภาพปอดสามารถตรวจได้หลายโปรแกรม ซึ่งต้องทำการตรวจด้วยเครื่องมือที่เฉพาะเจาะจง

  • การตรวจสไปโรเมตรีย์(Spirometry) เป็นการตรวจที่บ่งชี้ภาวะหลอดลมอุดกั้น เพื่อประเมินว่ามีภาวะโรคทางเดินหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพองหรือโรคหืด
  • การตรวจปริมาตรปอด (Lung Volumes) เป็นการตรวจที่บ่งชี้ขนาดของปอด เพื่อประเมิน ว่ามีภาวะโรคผังผืดที่ปอด (Lung fibrosis) หรือปอดอักเสบ (Pneumonitis)
  • การตรวจความสามารถในการซึมซ่านแก๊ส (Diffusing Capacity) เป็นการตรวจที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของปอดในการลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด
  • การตรวจวัดความไวของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้น (Bronchial Challenge Test) เป็นการตรวจที่ใช้วินิจฉัยภาวะหลอดลมไวเกิน ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหืด
  • การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ (Maximal Inspiratory/Expiratory Pressure) เป็นการตรวจที่บ่งชี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าและออก เพื่อประเมินภาวะอ่อนแรงจากระบบประสาทที่ส่งผลมาถึงกล้ามเนื้อในการหายใจ

โดยปกติแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้นระหว่างการตรวจ มีผู้ป่วยน้อยรายที่อาจเกิดอาการเหนื่อย ไอ  แน่นหน้าอกเล็กน้อย เวียนศีรษะและปวดศีรษะ อาการเหล่านี้จะหายไปหลังจากที่ท่านได้พัก

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

  • ไม่ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีก่อนการตรวจ
  • ไม่สูบบุหรี่อย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่มีการตรวจ
  • ควรงดยาขยายหลอดลมตามที่แพทย์แนะนำ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดบริเวณทรวงอกและหน้าท้อง

การตรวจสมรรถภาพปอดเหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ สารเคมี หรือฝุ่นละออง
  • ผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการหายใจลำบาก อาการเหนื่อย อาการไอ
  • ผู้ที่มีโรคระบบทางเดินหายใจหรือโรคอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ
  • ผู้ที่ต้องได้รับการผ่าตัด เป็นการประเมินก่อนการผ่าตัดเพื่อวัดอัตราเสี่ยง
การตรวจสมรรถภาพปอดมีความไวในการบอกว่าผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจและปอดหรือไม่ แม้จะเริ่มเป็นเพียงเล็กน้อย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการแสดง ซึ่งจะทำให้การรักษาได้ผลที่ดี แต่หากรอให้ถึงระยะที่มีอาการแสดง เช่น เหนื่อย หอบ นั่นหมายถึงสมรรถภาพปอดเสียหายเกิน 50% ไปแล้ว ทำให้การรักษาไม่ค่อยได้ผลและบางครั้งก็สายไป

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์โรคปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ

ดูเพิ่มเติม

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.58 of 10, จากจำนวนคนโหวต 24 คน

Related Health Blogs