bih.button.backtotop.text

อุปกรณ์ฝังใต้ผิวหนังที่ใช้ให้สารน้ำ PORT-A-CATH

A Port-A-Cath is an implanted venous access device that is placed under the skin below the collarbone to administer liquids. It is beneficial for patients who must receive medication or fluids intravenously over a long period, or in the case that medication or fluids may not be administered through small veins.

วัตถุประสงค์ของการใส่ Port-A-Cath
  • เพื่อให้ยาเข้าทางหลอดเลือดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน
  • เพื่อให้ยาที่มีการระคายเคืองทางหลอดเลือด ซึ่งการให้ยาที่เส้นเลือดตามปลายแขนจะเจ็บปวดมาก
  • เพื่อให้สารอาหารพิเศษที่มีความเข้มข้นสูงทางหลอดเลือด
ในกรณีดังกล่าว การใช้หลอดเลือดดำใหญ่ที่มีการไหลเวียนของเลือดในปริมาณมากจะช่วยทำให้สารที่ระคายเคืองถูกดูดซึมเร็วขึ้น ปลายสายอยู่ในหลอดเลือดดำใหญ่ที่คอลงไปถึงหัวใจ อีกปลายอยู่ใต้ผิวหนังต่ำกว่ากระดูกไหปลาร้า โดยที่มีอุปกรณ์ติดอยู่ลักษณะคล้ายเหรียญ 3 เหรียญวางซ้อนกัน ภายในกลวง ด้านบนที่สัมผัสผิวหนังเป็นยาง

เมื่อมีการให้สารน้ำหรือเจาะเลือด จะมีการทาครีมให้รู้สึกชาที่ผิวหนังบริเวณที่คลำเจออุปกรณ์ดังกล่าว แล้วใช้เข็มพิเศษเจาะผ่านยางเพื่อเข้าถึงหลอดเลือดนั้น เมื่อกระบวนการเสร็จสิ้นจะมีการใช้สารป้องกันการแข็งตัวของเลือดฉีดหล่อที่อุปกรณ์นี้ทุกครั้งก่อนการดึงเข็มออก เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันสำหรับการใช้ในครั้งต่อไป
  • ไม่มีรยางค์ออกมาภายนอกร่างกาย เมื่อไม่ได้ให้สารน้ำจึงทำให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • ไม่ค่อยพบการติดเชื้อ
  • สามารถใช้งานได้อย่างถาวรและนานเท่าที่จำเป็นต้องใช้ และถ้ามีการใช้ชั่วคราวก็สามารถถอดออกได้
  • ต้องแทงเข็มผ่านผิวหนังจนถึงแป้นของ Port-A-Cath ที่ฝังใต้ผิวหนังก่อนการใช้งาน
  • เมื่อไม่ให้สารน้ำก็ยังต้องมีการฉีดสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันการอุดตัน
  • อาจมีความรู้สึกว่ามีสายอยู่ใต้ผิวหนังบ้างโดยเฉพาะตำแหน่งไหปลาร้า
  • ภาวะมีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax) ระหว่างการแทงสาย
  • การอักเสบ บวมแดง หรือการติดเชื้อบริเวณรอบๆ แผลผ่าตัด
  • การติดเชื้อในกระแสเลือดระหว่างการใช้สาย
  • การเกิดลิ่มเลือดอุดตันภายในสาย
  • ปลายสายหักงอหรือขาด
  • ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
  • เดินได้มากเท่าที่ต้องการ แม้จะขึ้นบันได
  • รับประทานอาหารได้ตามปกติ
  • ระมัดระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำจนกว่าจะตัดไหม
  • สามารถทำงานได้ตามปกติ
 กรณีฉุกเฉินที่ต้องมาโรงพยาบาล
  • แผลผ่าตัด บวมแดง ร้อน หรือมีน้ำเหลือง
  • มีการเคลื่อนที่ของ port จากตำแหน่งเดิม
  • มีไข้
  • มีอาการเจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก
ในกรณีที่ไม่ใช้ Port-A-Cath จะต้องเข้ามารับล้าง Port-A-Cath ทุก 1 เดือน โดยเข้ามาติดต่อที่ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน ชั้น 3 อาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการ์ดใบเล็กๆ แสดงรายละเอียดรุ่นของ Port-A-Cath เพื่อพกพาติดตัวเมื่อต้องเดินทางโดยเครื่องบิน
  • การใส่สายสวนหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณหน้าอกหรือบริเวณแขน กรณีนี้จะมีปลายสายโผล่ออกมาซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมบางอย่างได้เหมือนปกติ เช่น การอาบน้ำ ซึ่งต้องระมัดระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ และระยะเวลาในการใช้งานของสายจะสั้นกว่า Port-A-Cath
  • ​การแทงเข็มผ่านหลอดเลือดดำส่วนปลาย มีข้อดีคือสะดวก แต่ต้องมีการเปลี่ยนตำแหน่งทุก 96 ชั่วโมงหรือบ่อยกว่า หากมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น บวม แดง อักเสบ จะมีปัญหาในระยะยาวคือเมื่อไม่สามารถหาเส้นเลือดในการแทงได้ อาจจะต้องพิจารณาแทงสายสวนหลอดเลือดดำหรือการแทง Port-A-Cath

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs