bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดตับอ่อน

Pancreatectomy is surgery to remove a part of or all of the pancreas. The pancreas is located in the abdomen, behind the stomach and in front of the spine. It produces juices that help digest food and hormones like insulin and glucagon that maintain optimal blood sugar levels and help the body use and store energy from food.

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ
เพื่อรักษาภาวะผิดปกติของตับอ่อน ได้แก่
  • ตับอ่อนเกิดการอักเสบ เช่น ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีอาการปวด
  • ตับอ่อนกระทบกระเทือนจากการบาดเจ็บ
  • มีเนื้องอกชนิด adenocarcinoma, cystadenoma, cystadenocarcinoma, papillary cystic neoplasms, มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเซลล์เนื้อเยื่อ Acinar
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากมีอินซูลินสูง (hyperinsulinemic hypoglycemia) อย่างรุนแรงจากสาเหตุของเนื้องอกที่ผลิตอินซูลิน (insulinoma)
 
วิธีการผ่าตัด
การผ่าตัดตับอ่อนมีหลายวิธี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
  • Total pancreatectomy คือ กระบวนการที่ตัดตับอ่อนออกไปทั้งหมด
  • Distal pancreatectomy คือ กระบวนการที่ตัดส่วนลำตัวและหางของตับอ่อนออกโดยเก็บส่วนหัวของตับอ่อนไว้ การผ่าตัดแบบนี้มักตัดม้ามออกไปด้วย
  • Distal pancreatectomy with splenic preservation คือ กระบวนการที่ตัดส่วนลำตัวและหางของตับอ่อนออกโดยเก็บส่วนหัวของตับอ่อนไว้ แต่ศัลยแพทย์จะเก็บม้ามไว้ ใช้ในการผ่าตัดก้อนหรือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง
  • Pancreaticoduodenectomy หรือบางครั้งเรียกว่า Whipple procedure เป็นการผ่าตัดแบบที่ตัดส่วนหัวของตับอ่อนพร้อมทั้งตัดลำไส้เล็กส่วนบนออกร่วมกับท่อน้ำดี ถุงน้ำดีไปพร้อมกัน การผ่าตัดแบบนี้ใช้เพื่อการรักษาเนื้องอกในตับอ่อนบริเวณส่วนหัวของตับอ่อน ส่วนปลายท่อน้ำดี หรือลำไส้เล็กส่วนต้น โดยมักตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่มีเนื้องอกออกด้วย
  • อาการแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ รอยเย็บที่ต่ออวัยวะภายในเข้าด้วยกันเกิดรั่ว มีอาการติดเชื้อและตกเลือด ปกติอาการแทรกซ้อนดังกล่าวสามารถแก้ไขได้โดยใส่ท่อระบายของเหลวออกและใช้ยาปฏิชีวนะ บางกรณีอาจจำเป็นต้องผ่าตัดอีกครั้งหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  • หลังผ่าตัดตับอ่อนผู้ป่วยมักรับประทานอาหารได้ลำบาก หรือรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนหรือแสบร้อนแน่นหน้าอก สาเหตุเกิดจากกระเพาะอาหารหยุดทำงานชั่วคราว กว่าระบบย่อยอาหารจะกลับไปทำงานเป็นปกติอาจใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือนก็เป็นได้ แพทย์ไม่สามารถคาดได้ว่ากระเพาะอาหารจะกลับไปทำงานปกติได้เร็วเพียงใด ผู้ป่วยต้องทดลองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถรับประทานอาหารได้เหมือนเดิม
  • ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเปลี่ยนอาหารอย่างถาวรเพื่อบรรเทาอาการท้องร่วง มีแก๊สในท้องและปวดท้อง
  • หากกระเพาะอาหารไม่ยอมกลับไปทำงานตามปกติอาจต้องให้อาหารผู้ป่วยทางสายยางเพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ โดยทั่วไปขณะกำลังพักฟื้นหลังผ่าตัดตับอ่อนผู้ป่วยควรรับประทานอาหารหรือของว่างครั้งละน้อยๆ แต่รับประทานทุก 3 ชั่วโมง โดยแต่ละมื้อควรเริ่มรับประทานอาหารที่มีโปรตีนก่อนเป็นอย่างแรกเพื่อไม่ให้ร่างกายสูญเสียกล้ามเนื้อมากเกินไป อีกทั้งควรดื่มเครื่องดื่มบ่อยๆ ระหว่างวันเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา
  • ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์หรือตลอดระยะเวลาการรักษา
  • หากผู้ป่วยมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง ผู้ป่วยสามารถเดินทางโดยสารโดยเครื่องบินได้ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด รวมถึงได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ก่อนขึ้นเครื่อง)

โอกาสสำเร็จขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาวะร่างกายของผู้ป่วย การปฏิบัติตัวก่อนและหลังการทำหัตถการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
อาการเจ็บป่วยอาจรุนแรงจนส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้

ผู้ป่วยบางรายอาจสามารถผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายตับอ่อนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs