bih.button.backtotop.text

คลอดบุตรปกติ / คลอดธรรมชาติ

การคลอดปกติหมายถึง การคลอดทางช่องคลอดในครรภ์ครบกําหนดอายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ โดยสิ้นสุดในลักษณะที่ศีรษะทารกคลอดออกมาก่อนและเอาท้ายทอยอยู่ทางด้านหน้าของช่องเชิงกราน กระบวนการคลอดเป็นไปได้เองตามธรรมชาติ ระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง โดยมารดาและทารกปลอดภัย มารดาสามารถใช้ยาระงับความเจ็บปวดทั่วไปและการใช้ยานอนหลับในระหว่างรอคลอดได้ซึ่ง เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถระงับปวดได้ดีในระยะแรกของการคลอด ช่วยลดความเครียด ผู้คลอดสามารถนอนหลับพักผ่อนได้

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการคลอด
การคลอดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ประการ ถ้าองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติจะทําให้
เกิดการคลอดยาก อาจต้องช่วยคลอดโดยการทําสูติศาสตร์หัตถการ

1. ช่องทางคลอด (Passage)
1.1. ส่วนของกระดูก (Bone Passage)
1.2. ส่วนของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Passage)

2. สิ่งที่คลอดออกมา (Passenger) คือ ทารก รก เยื่อหุ้มทารกและน้ำครํ่า ส่วนที่สําคัญคือศีรษะและท่าของทารกต้อง
ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน

3. แรงหรือกําลัง (Power)
3.1. แรงหดตัวของมดลูก
3.2. แรงเบ่ง

4. สภาพจิตใจ (Psyche) ครอบครัวที่มีสุขภาพจิตดีคู่สมรสที่มีความพร้ อมและความต้องการบุตร จะช่วยให้การปรับตัว
ต่อบทบาทการเป็ นบิดามารดาดีขึ้น มารดาที่มีจิตใจที่สบายจะคลอดง่ายและให้กําเนิดบุตรที่มีการเจริญเติบโตและ
พัฒนาการที่ดี                                                                                                                                                
เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการคลอดทารกและรก ในครรภ์แรกคือ 12 ชั่วโมง แต่เวลาสามารถแตกต่างออกไปได้ในแต่ละราย        

ระยะต่างๆ ของการคลอด
การคลอดแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ของการคลอด: ปากมดลูกเริ่มเปิดจนเปิดหมด 10 เซนติเมตร
ครรภ์แรกใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 12 ชั่วโมง
ครรภ์หลังใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 6ชั่วโมง
ระยะที่ 2 ของการคลอด: ปากมดลูกเปิดหมดจนถึงทารกคลอด
ครรภ์แรกใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2ชั่วโมง
ครรภ์หลังใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1ชั่วโมง
ระยะที่ 3 ของการคลอด: ภายหลังทารกคลอดจนกระทั่งรกคลอดใช้เวลาประมาณ 5-30 นาที
ระยะที่ 4 ของการคลอด: หลังรกคลอดจนถึง 2ชั่วโมงแรกหลังคลอด                                                                  
  1. สามารถลดความเจ็บปวดจากการคลอด
  2. ลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวดจากการคลอด
  3. ลดอุบัติการณ์ การใช้สูติศาสตร์หัตถการ
  4. ผู้คลอดมีเจตคติที่ดีต่อการคลอดบุตร
ข้อแนะนําในการใช้เทคนิคการหายใจ

1. เริ่มใช้เทคนิคการหายใจให้ช้าที่สุด ใช้เมื่อจําเป็นจริงๆ เพื่อถนอมพลังงานไว้สําหรับการคลอด
2. ใช้การหายใจตามความแรงของการบีบตัวของมดลูก
3. ปรับการหายใจตามความแรงของการบีบตัวของมดลูก                                                                           

การลูบหน้าท้อง

เป็นการบรรเทาหรือช่วยลดความเจ็บปวดขณะมดลูกบีบตัวอีกวิธีหนึ่งเพราะการลูบที่เป็นจังหวะๆ จะเบนความสนใจจากคุณแม่ออกจากตําแหน่งที่รู้สึกไม่สบาย มีทางเลือกทางการแพทย์มากมายเรื่องการระงับความเจ็บปวด แต่การระงับความเจ็บปวดระหว่างการคลอดทุกชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กรุณาปรึกษาแพทย์ในเรื่องเหล่านี้
  • ผู้คลอดสามารถเลือกวิธีใช้ยาระงับปวดฉีดเข้าเส้นเลือดดําหรือกล้ามเนื้อได้
    • ให้เมื่อการบีบตัวแรงขึ้นและเจ็บปวดมากขึ้น
    • ข้อเสีย ยาสามารถผ่านเข้ากระแสเลือดของทารก     
ขึ้นกับปัจจัยของมารดาและทารกขณะรอคลอด หากแพทย์พบข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ไม่สามารถรอคลอดทางช่องคลอดได้แพทย์อาจพิจารณาช่วยคลอดด้วยการผ่าตัดคลอดแทนการคลอดผ่านทางช่องคลอด เช่น
  • ข้อบ่งชี้ทางมารด
    • ผู้คลอดมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีโรคหัวใจซึ่งไม่ควรออกแรงเบ่ง เป็นต้น
    • ไม่มีความก้าวหน้าในการคลอด เช่น ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม หรือศีรษะทารกไม่เคลื่อนต่ําลงมา
    • ปากมดลูกเปิดหมด 10 เซนติเมตร ผู้คลอดเบ่งนานแล้วไม่คลอด ไม่มีความก้าวหน้าของการคลอดทั้งที่ศีรษะ
    • ทารกลงมาต่ำแล้ว
  • ข้อบ่งชี้ทางเด็ก
    • เสียงหัวใจเด็กเร็วหรือช้ากว่าปกติ เต้นไม่สม่ำเสมอ น้ําคร่ำมีสีเขียวหรือสายสะดือย้อย เป็นต้น                                                                                                                                                                                

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs