ทำไมเราต้องพบแพทย์ก่อนเล่นกีฬา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายบังคับให้เด็กนักเรียนทุกคนที่จะเล่นกีฬาต้องได้รับการพบแพทย์ เพื่อ ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ก่อนเล่นกีฬา ปีละหนึ่งครั้ง เหตุผลก็คือเพื่อความปลอดภัยของเด็กหรือนักกีฬานั่นเอง สิ่งนี้คือสิ่งที่ฝรั่งเรียกกันว่า sports physical หรือถ้าเรียกกันอย่างเป็นทางการก็คือ pre-participation examination (PPE) การทำ sports physical นั้น จะทำให้เรารู้พื้นฐานทางสุขภาพของตัวเองว่าปลอดภัยเพียงพอไหม มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนในการเล่นกีฬา มีโรคอะไรซ่อนอยู่ที่อาจเป็นอุปสรรคหรือเป็นอันตรายต่อการเล่นกีฬาหรือไม่
ซึ่งเราพบว่า หลังจากที่ทำ sports physical แล้ว นักกีฬามีโอกาสที่จะตรวจพบความปกติที่จะต้องทำการตรวจละเลียดเพิ่มเติม 5- 15% เลยทีเดียว
หลายครั้งที่เราพบเหตุการณ์ในข่าวว่ามีนักกีฬาเสียชีวิตเล่นกีฬาทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิต เจ้าตัวเองก็ยังรู้สึกแข็งแรงดี สาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตนั้นมาจากความผิดปกติของหัวใจ โดยหนึ่งในสามของผู้ที่เสียชีวิตในขณะออกกำลังกายนั้นเป็นนักกีฬาที่ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ฉะนั้นการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในการเล่นกีฬาจึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
Sports Physical ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
Sports Physical ประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐานสองอย่างก็คือการซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยแพทย์
แพทย์จะซักประวัติ ตามแบบฟอร์มการซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับการเล่นกีฬา เป็นคำถามประมาณ 50 คำถาม คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ได้มาจากงานวิจัยว่ามีประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของนักกีฬา โดยจะมีการซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจของนักกีฬาและคนในครอบครัว โรคปอด ประวัติการแพ้ยา ประวัติการใช้ยา ประวัติการบาดเจ็บในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติการกระทบกระเทือนทางสมอง ประวัติภูมิแพ้และ การกินยาที่เกี่ยวข้อง ประวัติโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับกีฬาในครอบครัว ประวัติการกินอาหาร ประวัติน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ประวัติประจำเดือน ประวัติการเดินทางไปแข่งขันต่างประเทศ ประวัติการฉีดวัคซีน ประวัติ การบาดเจ็บ การเป็นตะคริวขณะฝึกซ้อมหรือขณะแข่งขัน เป็นต้น
ส่วนการตรวจร่างกายนั้น เริ่มตั้งแต่การวัดส่วนสูง และน้ำหนักว่าผอมเกินไปหรืออ้วนเกินไปไหม การวัดความดัน ซึ่งพบว่าความดันสูงเป็นสิ่งผิดปกติทางระบบหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในนักกีฬา
การฟังเสียงหัวใจและปอด โรคหัวใจบางโรคพบได้ในนักกีฬาและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตขณะเล่นกีฬาได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจโต หัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งในบางครั้งเราอาจฟังเสียงหัวใจเต้นปกติหรือจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติได้ นักกีฬาบางคนที่มีความสูงเป็นพิเศษ (เลยชอบถูกเลือกให้เป็นนักกีฬา) แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะมีโรคทางพันธุกรรมบางอย่างเช่น Marfan Syndrome แอบแฝงอยู่ ซึ่งอาจตรวจร่างกายพบสิ่งผิดปกติหลายหลายหลายอย่าง เช่น มีเสียงหัวใจผิดปกติความยาวของแขนของนิ้วที่ผิดปกติ ข้อต่างๆมีความยืดหยุ่นสูงเกินปกติ มีเลนส์ลูกตาที่ผิดปกติได้
นอกจากนี้ยังตรวจระบบประสาท ระบบสายตา ระบบหู ระบบช่องท้อง ว่ามีก้อนหรือ มีตับ ม้าม โต หรือไม่ ในผู้ชายจะมีการตรวจลูกอัณฑะเพื่อหาภาวะอัณฑะใบเดียว หรือหาภาวะไส้เลื่อนว่ามีหรือไม่
และแน่นอนสิ่งที่แตกต่างที่สุดกับการตรวจร่างกายประจำปีของเด็กด้วยหมอเด็ก หรือของผู้ใหญ่ใน หมอทั่วไป ก็คือการตรวจร่างกายระบบข้อและกล้ามเนื้อเพื่อหาว่า มีความปกติหรือมีความผิดปกติอย่างไร มีการบาดเจ็บตามกล้ามเนื้อและข้อไหล่ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้าหรือไม่ ข้อต่างๆมีความยืดหยุ่นหรือหลวมมากเกินไปหรือไม่ มีเท้าแป เท้าปก หรือเท้าผิดรูป อื่นๆ หรือไม่ ซึ่งความผิดปกติในกล้ามเนื้อและข้อต่างๆเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการบาดเจ็บในขณะเล่นกีฬาหรือบาดเจ็บเมื่อเล่นกีฬาไปนานนานได้
ใครเป็นผู้ที่ได้ควรกับการตรวจ sports physical
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจได้แก่ ผู้ที่เล่นกีฬาในทุกระดับ นักกีฬาโรงเรียน นักกีฬาสโมสรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัย นักกีฬาทีมชาตินักกีฬาพิเศษเช่นคนพิการทางร่างกายหรือทางปัญญา ที่มีมีอายุ ตั้งแต่อายุ 6ปีขึ้นไป อ่านไม่ผิดครับ
ในสหรัฐอเมริกานั้นแนะนำให้ทำการตรวจ sports physical ตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป คือตั้งแต่เริ่มระดับประถมกันเลยทีเดียว
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจก็คือประมาณ 6 สัปดาห์ ก่อนที่จะถึงฤดูกาลเล่นกีฬา ที่ควรเป็น 6 สัปดาห์ ก็เพราะว่าจะได้มีเวลาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและแก้ไขสิ่งที่ผิดปกติได้ทันก่อนถึงฤดูกาล
แต่ในชีวิตจริงแล้ว นักกีฬาก็มาอาจ มีความต้องการมาตรวจตามเวลาที่สะดวกหรือเวลาที่ผู้ปกครองสะดวก สำหรับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์นั้น อำนวยความสะดวกให้กับนักกีฬาและผู้ปกครองโดยการกำหนดเวลาตรวจและนัดหมายล่วงหน้าตามวันเวลาที่สะดวก ไม่เสียเวลาจอคิวนาน และ การตรวจนั้นทำโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การกีฬาที่มีมีประสบการณ์ในระดับนานาชาติ และทีมงาน
ควรตรวจบ่อยแค่ไหน
โดยปกติแล้วการตรวจทุกปี หรือไม่เกินทุก 3 ปี ในทุก ๆ ปีจะต้องในการซักประวัติเพิ่มเกี่ยวกับ 3 H ของปีที่ผ่านมา ได้แก่ Heart Heat Head ก็คืออาการ เกี่ยวกับโรคหัวใจ เกี่ยวกับโรคลมแดด และประวัติศรีษะได้รับกระทบกระเทือน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้นักกีฬาเสียชีวิตได้บ่อยบ่อย
ใครควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบ้าง
สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าควรตรวจคัดกรองด้วย EKG นักกีฬาตั้งแต่อายุ 12 ปี ถึง 35 ปีทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีประวัติ 14 ข้อ เช่น มีประวัติตรวจร่างกายทางด้านหัวใจผิดปกติเช่น เคยเป็นลม เคยหน้ามืดขณะออกกำลังกาย ความดันผิดปกติ เสียงหัวใจเต้นปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้า หัวใจเพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้น
เมื่อตรวจ EKG เรียบร้อยแล้ว จากผล EKG เราจะแบ่งนักกีฬาออกเป็นสามกลุ่มคือ กลุ่มที่ปกติกลุ่มที่สีเทา และกลุ่มที่เป็นโรค กลุ่มที่สีเทาและกลุ่มที่เป็นโรคนั้นเป็นกลุ่มที่จะต้องได้รับการเฝ้าระวัง อย่างใกล้ชิดหรือทำการ ตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นเพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่การลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต และรักษาต่อไป
ในปัจจุบันค่าผลเลือด หรือ biomarker ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้เล่นกีฬาหรือนักกีฬา ผลเลือดสามารถบอกได้ว่าร่างกายขาดสารอาจที่จำเป็น ที่นักกีฬาขาดกันบ่อยๆ เช่น วิตะมินดี เหล็ก เป็นต้น สามารถตรวจสอบว่าร่างกาย overtraining ไหม กล้ามเนื้อเป็นอย่างไร ระบบเผาผลาญของร่างกายเป็นอย่าง ไร แพ้อาหารอะไรที่กินตอนออกกำลังกาย หรือไหม ซึ่งหมอจะขอกล่าวถึงในรายละเอียดในตอนต่อไปครับ
รศ. ดร. นพ. เมษัณฑ์ ปรมาธิกุล
ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ - เวชศาสตร์การกีฬา
Reference:
https://emedicine.medscape.com/article/88972-overview#a6
Petek BJ, Baggish AL. Pre-participation Cardiovascular Screening in Young Competitive Athletes. Curr Emerg Hosp Med Rep. 2020 Sep;8(3):77-89. doi: 10.1007/s40138-020-00214-5. Epub 2020 May 21. PMID: 33552703; PMCID: PMC7863976.
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2567