bih.button.backtotop.text

รู้จักกับแพทย์บำรุงราษฎร์

26 มกราคม 2555

เพราะมุ่งมั่นที่จะมอบการดูแลที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลบำรุง ราษฎร์ จึงไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อดำรงและสร้างสรรค์ความเป็นเลิศในการให้บริการด้านการ แพทย์ Better Health 

เพราะมุ่งมั่นที่จะมอบการดูแลที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลบำรุง ราษฎร์ จึงไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อดำรงและสร้างสรรค์ความเป็นเลิศในการให้บริการด้านการ แพทย์ Better Health ขอแนะนำให้รู้จักกับแพทย์ที่มากด้วยทักษะและประสบการณ์ ซึ่งมาเสริมทีมแพทย์ของเราให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมดูแลผู้ป่วยได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น


Q: จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คิดว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการเป็นแพทย์คืออะไร

A: น่าจะเป็นการเปลี่ยนความเชื่อผิด ๆ ของผู้ป่วยในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษา อย่างกรณีของการเป็นอัมพาตซึ่งบางครั้งอาการก็ดีขึ้นมาเองได้ แต่บังเอิญว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นหลังจากไปรดน้ำมนต์ คราวนี้ความนิยมเรื่องการรดน้ำมนต์ก็แพร่กระจายไปทั่ว การกินยาหม้อก็เช่นกันเพราะถ้ามีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ผู้ป่วยก็จะรู้สึกสบายช่วงแรกทำให้ไม่คิดถึงผลข้างเคียงที่จะตามมา ซึ่งความเชื่อพวกนี้ต้องเปลี่ยนให้ได้

Q: เพราะเหตุใดจึงเลือกเป็นแพทย์ที่บำรุงราษฎร์

A: บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลที่มีบรรยากาศทางวิชาการ ยึดมั่นในเรื่องของจรรยาบรรณ และแม้จะเป็นโรงพยาบาลเอกชนแต่ผู้บริหารก็ไม่ได้มุ่งแต่จะทำธุรกิจ ทำให้ผมรู้สึกดีที่ได้เป็นแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างนี้

 


Q: ประสบการณ์ในการรักษาครั้งใดที่จำได้ไม่ลืม

A: มีผู้ป่วยจากเอธิโอเปียคนหนึ่ง มีก้อนเนื้ออยู่ในกระเพาะซึ่งโรงพยาบาลก่อนหน้านี้ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่เมื่อเราทำการตรวจซ้ำดูจึงพบว่าก้อนเนื้อนั้นไม่ใช่มะเร็งในกระเพาะ แต่เป็นก้อนลิวคีเมียที่เรียกว่าไมลอยด์ซาร์โคมาซึ่งพบได้ยาก วันนั้นเลยวุ่นวายมาก เพราะลิวคิเมียเป็นโรคที่ต้องลงมือรักษาทันที เคสที่พลิกคำวินิจฉัยอย่างนี้จะพบบ่อยที่บำรุงราษฎร์เพราะเรามีบุคลากรและเครื่องมือที่สามารถตรวจหาโรคมะเร็งได้อย่างแม่นยำ

Q: สิ่งที่ลำบากที่สุดในการเป็นแพทย์โรคมะเร็งและโรคเลือดคืออะไร

A: ในการรักษาโรคมะเร็งนั้นหลายครั้งที่แพทย์ต้องดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิต เพราะโรคมะเร็งขั้น
แพร่กระจายมักจะรักษาไม่หายขาด ดังนั้น การใส่ใจดูแลความรู้สึกและให้เวลากับผู้ป่วยรวมถึงญาติพี่น้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถือเป็นหน้าที่ของแพทย์และเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของทุกคน

 


Q: เ พ ร า ะ เ ห ตุใ ด จึง มีความตั้งใจที่จะเป็นแพทย์โรคหัวใจ

A: ต้องบอกว่าเป็นเพราะคุณย่าเพราะมีอยู่ครั้งหนึ่งที่คุณย่ามีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันตอนนั้นรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถทำอะไรได้เลยนอกจากยืนดูอย่างเดียวทั้ง ๆ ที่เป็นนักเรียนแพทย์แล้ว เลยตั้งใจว่าจะเป็นแพทย์โรคหัวใจให้ได้

Q: การรักษาครั้งใดที่รู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ

A: มีผู้ป่วยคนหนึ่งซึ่งสภาพหลอดเลือดหัวใจแย่มาก ไปพบแพทย์ที่ไหนก็โดนปฏิเสธมาหมด ผมดูแล้วก็บอกว่าเสี่ยง ไม่ทำอะไรเลยอาจจะอยู่ได้รศ. นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี อายุรแพทย์หัวใจนานกว่า แต่เขาก็บอกว่าเขาทนอยู่ในสภาพนี้ไม่ไหว และขอร้องให้เรารักษา ซึ่งเมื่อตัดสินใจรักษาก็พบว่ายากอย่างที่คิด แต่ในท้ายที่สุดก็ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมายิ้มแย้มแจ่มใสได้ ทำให้รู้สึกภูมิใจมากว่าเราสามารถให้ชีวิตใหม่ที่ไร้โรคกับเขาได้

Q: เพราะเหตุใดถึงให้ความสนใจในด้านหัตถการเพื่อขยายหลอดเลือดเป็นพิเศษ

A: การสอดสายสวนหัวใจเพื่อเปิดหลอดเลือดหัวใจเวลาตีบ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ขา ไต ได้เช่นกัน การที่เรารู้จักหลอดเลือดส่วนต่าง ๆ นี้นอกจากจะช่วยให้เราทำงานร่วมกับแพทย์สาขาอื่นได้แล้ว ยังทำให้สามารถมองอาการโดยรวมของผู้ป่วยได้อีกด้วย

 


Q: อะไรคือสิ่งที่ยากที่สุดในการเป็นศัลยแพทย์ระบบประสาท

A: สิ่งที่ยากที่สุดในการผ่าตัดสมองคือ การรู้ว่าเราควรจะหยุดผ่าตัดเมื่อไหร่ เพราะในกรณีที่เนื้องอกอยู่ใกล้ชิดหรือกดทับส่วนที่มีหน้าที่สำคัญถ้าตัดออกก็เสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยพิการหรือไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลย ดังนั้นเราต้องลดขนาดก้อนเนื้อให้เล็กที่สุดแล้วใช้วิธีอื่น เช่น การฉายแสงหรือรับประทานยาช่วย ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่า

Q: มีผู้ป่วยรายไหนที่ทำให้ประทับใจเป็นพิเศษ

A: เคยมีผู้ป่วยคนหนึ่ง ตั้งครรภ์ได้แปดเดือนแล้วแต่เกิดหมดสติไปเพราะมีก้อนเนื้อขนาดใหญ่ในสมอง จำเป็นต้องผ่าตัดทันที ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่พิสดารมาก เพราะผู้ป่วยนอนหงายไม่ได้ เนื่องจากน้ำหนักของมดลูกจะไปกดทับหลอดเลือด ต้องนอนตะแคงระหว่างผ่าตัดแต่สุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ วันรุ่งขึ้นผู้ป่วยสามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัยในห้องไอซียูนั่นเอง พวกเราดีใจมากที่ช่วยได้ทั้งแม่และลูกจากที่เคยคิดว่าต้องเลือกคนใดคนหนึ่ง

Q: ปรัชญาในการทำงานคืออะไร

A: ผมเป็นคนที่พยายามให้งานออกมาสมบูรณ์แบบเสมอเพราะปัญหาทางการแพทย์คือเรื่องความผิดพลาด ยิ่งการรักษาพยาบาลมีหลายขั้นตอน ต้องเกี่ยวข้องกับหลายคน ความผิดพลาดจึงมีได้เสมอบางคนอาจคิดว่าผมดุ แต่ผมก็ต้องดุถ้ามันจะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ฉะนั้นเราต้องเตือนตัวเองให้มีสติตลอดเวลาเพื่อให้ทำการรักษาได้อย่างดีที่สุด

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs