bih.button.backtotop.text

อยู่อย่างไรให้เป็น “นาย” ของโรค

23 มกราคม 2553

Despite 30 years of chronic diabetes and recent heart bypass surgery, there’s been no stopping Mr. Kajornkiat Kongwanichkitjaruen from living a full and fulfilling life, for seven decades and counting.

The pillars of good health have become common knowledge for most people – eat a healthy diet, exercise regularly, visit your doctor routinely and have regular check-ups, as well as routine follow-up tests. But knowledge doesn’t equal good health; good health comes from a proactive approach. We choose to be responsible for our individual health and use that knowledge to make better decisions at every stage of life.

30 ปีกับโรคเบาหวาน ผ่านการทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจ แต่ยังยิ้มได้แม้ในวัย 70

เป็นที่ทราบกันดีว่า หัวใจสำคัญของการมีสุขภาพดี ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลตัวเอง ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากเราไม่ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการดูแลสุขภาพร่างกาย  


Better Health ฉบับนี้ได้พูดคุยกับคุณขจรเกียรติ คงวณิชกิจเจริญ นักวิ่งสมัครเล่นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ร่วมกับโรคนี้มาถึง 30 ปี และเกือบย่ำแย่ด้วยโรคแทรกซ้อนจนท้ายที่สุดต้องเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ น่าสนใจว่าคุณขจรเกียรติมีเคล็ดลับในต่อสู้ และอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรัง รวมทั้งกลับมาทำกิจกรรมที่ชอบอันได้แก่การวิ่งได้อย่างไรภายหลังการผ่าตัด 


ต่างโรค ต่างวาระ

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน คุณขจรเกียรติซึ่งขณะนั้นอายุได้ 40 ปีได้ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน แต่ก็ถือว่าไม่รุนแรงนัก เนื่องจากเป็นคนรักการออกกำลังกายอยู่แล้ว จึงทำให้การควบคุมโรคเป็นไปโดยไม่ลำบาก
 

“ผมเป็นเบาหวานมานาน แต่อยู่มาได้อย่างดีเพราะผมออกกำลังกายมาตลอด ตอนนี้ผมจะอายุ 70 ปีแล้วแต่ก็ยังออกกำลังกายเป็นกิจวัตรรับประทานยาตามแพทย์สั่งเท่านี้ผมก็คุมโรคได้ ผมไม่เคยคิดแม้แต่นิดเดียวว่าผมจะเป็นโรคหัวใจ” คุณขจรเกียรติเริ่มเล่า “จนเมื่อราว ๆ สักสามสี่ปีก่อน ผมกำลังเตรียมตัวจะไปวิ่งมาราธอนเป็นระยะทางรวม 25 กิโลเมตร ตอนซ้อมผมตั้งเป้าไว้ที่ 30 กิโลเมตร พอซ้อมมาก ๆ เข้าก็เลยปวดกล้ามเนื้อขึ้นมา ผมเลยรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อโดยที่ไม่ทราบเลยว่าตัวเองแพ้ยา พอไปพบแพทย์จึงได้ทราบ ผลจากการแพ้ยานี้ทำให้กล้ามเนื้อสลายซึ่งโชคดีที่เป็นผลเพียงชั่วคราว เวลานั้น คิดเอาเองว่า สาเหตุที่เวลาเราซ้อมวิ่งแล้วพยายามเร่งแต่เร่งไม่ได้ หมดแรงเสียก่อนนั้น น่าจะเป็นเพราะกล้ามเนื้อสลาย”
 

เมื่อทราบว่าตนเป็นโรคกล้ามเนื้อสลาย คุณขจรเกียรติก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกาย “ผมเปลี่ยนจากการวิ่งมาเป็นการว่ายน้ำสลับไปวิ่งเหยาะ ๆ บ้างเป็นบางครั้ง ทำอย่างนี้อยู่เป็นปี จนวันหนึ่งออกไปธุระ นอกบ้าน กลับบ้านมารู้สึกแน่นหน้าอก นอนพักครู่หนึ่งแล้วก็ยังไม่หายผมเลยบอกลูกให้รีบพามาที่บำรุงราษฎร์” คุณขจรเกียรติเล่า “เมื่อมาถึงโรงพยาบาล หมอตรวจอย่างละเอียดก็พบว่าผมเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หมอเปิดภาพให้ดูเลยว่าหลอดเลือดหลักที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบแล้วทั้งหมด แต่ที่อยู่มาได้ก็เพราะผมออกกำลังกายมาตลอด เลยมีเส้นเลือดย่อย ๆ เกิดขึ้น และส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจแทน”  


รักษาและฟื้นฟู

แม้จะมีหลอดเลือดฝอยที่คุณขจรเกียรติเรียกว่า ‘เส้นวาสนา’ เกิดขึ้นมาหล่อเลี้ยงหัวใจไว้ การรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อเปิดทางเดินเลือดเข้าสู่หัวใจก็ยังจำเป็นอย่างยิ่ง คุณขจรเกียรติเล่าต่อว่า “กรณีของผมทำบอลลูนขยายหลอดเลือดไม่ได้ ต้องทำบายพาสเท่านั้น ผมตัดสินใจเลยไม่รอช้า ไม่กี่ชั่วโมงก็ทำบายพาสเรียบร้อย กลายเป็นคนใหม่ แต่หลังจากนั้นก็อยู่แต่บ้าน เหงามาก นอนเฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเพราะมีคนทำให้หมดทุกอย่าง คนรอบข้างสังเกตว่าผมซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัดไม่คิดจะทำอะไรเลยหมดความสนใจไปเฉย ๆ โทรทัศน์ก็ไม่ดู นอนมากก็จริงแต่นอนไม่หลับ ต้องรับประทานยานอนหลับตลอด ผมเริ่มเขียนพินัยกรรมแล้วด้วยเพราะไม่คิดว่าจะอยู่ได้นาน เหมือนชีวิตหายไปเลย”
 

หลังจากนั่ง ๆ นอน ๆ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนเตียงอยู่ถึงหกเดือน ชีวิตก็เปลี่ยนไปอีกครั้ง “ผมมีนัดกับนพ. ชัยอนันต์ ชัยยามานนท์ตามปกติเพื่อติดตามอาการ คุณหมอสังเกตว่าผมไม่มีพัฒนาการทางร่างกายเลยแม้จะผ่าตัดบายพาสมาหลายเดือนแล้ว หมอบอกผมว่ากล้ามเนื้อลีบหมดแล้ว ควรจะทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ผมก็เลยได้เข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจโดยมีคุณหมอนำเป็นผู้ดูแล” 
 

ชีวิตที่เริ่มต้นใหม่

การได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้เข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญซึ่งทำให้คุณขจรเกียรติมีมุมมองแง่บวกต่อชีวิตอีกครั้ง  
 

“ในช่วงแรก หมอให้ยืดเส้นยืดสาย และเดินสายพาน” คุณขจรเกียรติเล่าต่อ “ตอนแรกแค่ทรงตัวยังแทบทำไม่ได้ ต้องมีคนมาประคองข้างหลัง พอผ่านไปสัก 4 ถึง 5 ครั้ง ก็ทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ สดชื่นขึ้นเหมือนได้ชีวิตกลับมาเดินเองได้ ทำอะไรได้ คือ รู้สึกว่าเราหายป่วยแล้วจริง ๆ กินได้ นอนหลับสบาย มีความสุขขึ้นมาก”  
 

เป้าหมายในท้ายที่สุดของคุณขจรเกียรติคือ การได้กลับไปวิ่งอีกครั้งอย่างที่ใจรัก ซึ่งเป้าหมายนั้นอยู่อีกไม่ไกลเลย “เดี๋ยวนี้ผมว่ายน้ำที่สระ 50 เมตรได้ 20 เที่ยวโดยไม่หยุด ผมจะกลับไปวิ่งที่สวนลุมให้ได้เหมือนเมื่อก่อน ตอนนี้หลอดเลือดหัวใจของผมปลอดโปร่งแล้ว ร่างกายก็พร้อมแล้ว ผมว่าผมน่าจะวิ่งได้ดีกว่าเดิมอีกนะครับ” คุณขจรเกียรติกล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้มและความมั่นใจ 
 

การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างเป็นระบบ

จากเรื่องราวของคุณขจรเกียรติ เราได้เรียนรู้ว่าการผ่าตัดครั้งสำคัญอย่างการทำบายพาสไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตตามปกติเลย หากมีการดูแลฟื้นฟูอย่างถูกวิธี ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เปิดเผยรายละเอียดเบื้องหลัง “ชีวิตใหม่” ของคุณขจรเกียรติ และผู้ป่วยโรคหัวใจรายอื่น ๆ ที่ผ่านการผ่าตัดครั้งสำคัญมาแล้ว
   

“การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่แค่ให้การรักษาอย่างเดียวสิ่งสำคัญคือเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไปแล้วควรจะต้องสามารถใช้ชีวิตที่มีคุณภาพได้ ตรงนี้เป็นที่มาของแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพ หัวใจอย่างเป็นระบบที่เราเตรียมไว้สำหรับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ” 

โปรแกรมการฟื้นฟูหัวใจทางกายภาพบำบัดประกอบไปด้วยสองส่วน ส่วนแรก เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเรื่องการปฏิบัติตัว การดูแลตัวเองเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงการสร้างเสริมกำลังใจให้ผู้ป่วย ส่วนที่สอง ได้แก่ การให้คำแนะนำในการออกกำลังกายซึ่งช่วงแรกต้องทำควบคู่กับการติดตามสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  

“กรณีของคุณขจรเกียรติ เราเริ่มจากการเดินบนสายพาน ซึ่งก็พบอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะบ้างจึงประสานไปทางแพทย์หัวใจ และแก้ไขจนได้ ระหว่างทำกายภาพบำบัด เราก็ตั้งเป้าด้วยกัน ประเมินผลพร้อมกัน ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนนั้นกลายเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยพยายามมากขึ้น น่าดีใจที่คุณขจรเกียรติเป็นคนออกกำลังกายอยู่แล้ว จึงเป็นผู้ที่มีพื้นฐานที่ดี เมื่อได้รับการฟื้นฟูจึงเห็นพัฒนาการอย่างรวดเร็ว” 

สิ่งที่ทำให้คุณขจรเกียรติประสบความสำเร็จ ได้แก่ การที่ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ และมีวินัยในการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตนเอง การมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และการนำคำแนะนำไปปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้าน “ตอนนี้คุณขจรเกียรติขึ้นบันไดสามชั้นโดยไม่พักได้แล้ว เดินได้เร็วขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงและการทรงตัวดีขึ้น เกือบจะกลับไปวิ่งที่สวนลุมฯ ได้แล้วครับ” 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs