bih.button.backtotop.text

ผู้สูบบุหรี่ทางอ้อมเสี่ยงโรคไขมันพอกตับ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตริเวอร์ไซด์ระบุว่า ผู้สูบบุหรี่ทางอ้อมหรือ Second-hand Smoker มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ (Nonalcoholic Fatty Liver Disease) เช่นเดียวกัน แม้จะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ตาม

ผู้สูบบุหรี่ทางอ้อมเสี่ยงโรคไขมันพอกตับ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตริเวอร์ไซด์ระบุว่า ผู้สูบบุหรี่ทางอ้อมหรือ Second-hand Smoker มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ (Nonalcoholic Fatty Liver Disease) เช่นเดียวกัน แม้จะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ตาม

ในการศึกษา นักวิจัยตรวจตับหนูทดลองในห้องแล็บที่ได้รับควันบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลา 1 ปีโดยมุ่งเป้าไปที่ตัวควบคุมการดูดซึมไขมันหลักๆ สองตัวที่หนูมีเหมือนกับมนุษย์ ได้แก่ SREBP (Sterol Regulatory Element-binding Protein) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการสังเคราะห์กรดไขมันในตับและ AMPK (Adenosine Monophosphate Kinase) ซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดการทำงานของ SREBP ปรากฏว่าการสัมผัสกับควันบุหรี่แม้โดยทางอ้อม ก็ช่วยเร่งการทำงานของ AMPK ซึ่งส่งผลให้ SREBP ได้รับการกระตุ้นไปด้วย เมื่อ SREBP ได้รับการกระตุ้น การสังเคราะห์กรดไขมันจึงเพิ่มขึ้นและนำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับจนถึงตับวายได้ในที่สุด
 
นี่จึงนับเป็นครั้งแรกที่นักวิจัยพบหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า การสูบบุหรี่มีผลทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้จริงๆด้วยวิธีง่ายๆ แต่ตรวจพบมะเร็ง ระบบทางเดินอาหารได้อย่างแม่นยำ

ผลการศึกษาล่าสุดระบุว่า การตรวจดีเอ็นเอจากอุจจาระช่วยให้แพทย์ตรวจพบมะเร็งหลายชนิดได้อย่างแม่นยำกว่าที่คาด

การศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร และกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดีโดยนักวิจัยจากเมโยคลินิกแห่งมิเนโซต้า พบว่าการตรวจมะเร็งโดยอาศัยดีเอ็นเอในอุจจาระสามารถทำได้อย่างแม่นยำไม่ว่ามะเร็งจะอยู่ในขั้นไหน ในการศึกษานักวิจัยจะตรวจหาดีเอ็นเอของเยื่อหุ้มเนื้องอกที่ปะปนมากับอุจจาระ ปรากฏว่าตรวจพบมะเร็งหลอดอาหารร้อยละ 65 มะเร็งตับอ่อนร้อยละ 62 มะเร็งที่ถุงน้ำดีและท่อน้ำดีร้อยละ 75 และตรวจพบมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ได้ร้อยละ 100
 
นพ.เดวิด อัลควิสต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารจากเมโยคลินิกกล่าวว่า “การตรวจดีเอ็นเอจากอุจจาระนั้นเป็นกรรมวิธีที่มีศักยภาพมาก และจะเป็นการพลิกกลยุทธ์ในการตรวจหาโรคมะเร็งจากเดิมที่จะเน้นตรวจที่อวัยวะต้องสงสัยเพียงอวัยวะเดียว แต่วิธีการใหม่นี้จะช่วยให้สามารถตรวจมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
พบผู้ใหญ่ต่ำกว่า 50 ปีเป็นมะเร็งลำไส้มากขึ้น
สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริการายงานในวารสาร Cancer Epidemiology Biomarkers and Prevention ฉบับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 50 ปีกำลังเพิ่มขึ้น สวนทางกับจำนวนผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี

ทีมวิจัยจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อายุระหว่าง 20-49 ปี ทั้งชายและหญิง ใน 13 มลรัฐตั้งแต่ปี 1992 ถึง 1995 และอีกครั้งในระหว่างปี 2002 ถึง 2005 พบว่าในช่วง 10 ปีนี้จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี สูงขึ้นถึงร้อยละ 1.5 ในเพศชาย และร้อยละ 1.6 ในเพศหญิง

โดยทั่วไปการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นมักจะเริ่มทำเมื่ออายุ 50 ปี เว้นแต่ว่าจะมีประวัติครอบครัวและมีอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง จึงเป็นโอกาสให้เนื้องอกใช้เวลาพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ในท้ายที่สุด นักวิจัยสรุปว่าแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 50 อาจทำให้แพทย์จำเป็นต้องทบทวนคำแนะนำในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กันใหม่
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs