bih.button.backtotop.text

7 เทคนิคสั่งอาหารมาทานที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคไต

สิ่งที่ผู้ป่วยโรคไตต้องรู้เกี่ยวการการปฏิบัติตัวและการเลือกรับประทานอาหารในสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19

7Techniq-food_website_1.jpg7Techniq-food_website_2.jpg7Techniq-food_website_3.jpg7Techniq-food_website_4.jpg


ผู้ป่วยโรคไต ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องล้างไตหรือทำการเปลี่ยนไตแล้ว รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยได้มากและรุนแรงกว่าคนปกติ ดังนั้นการซื้อสินค้ามาเก็บไว้ที่บ้านและการสั่งอาหารมาทานที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีกลุ่มคนหนาแน่นก็ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
 

เทคนิคการสั่งอาหารมาทานที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคไต  

  1. ปรับสัดส่วนของอาหารให้เท่ากับปริมาณอาหารที่เราทานตามปกติ เนื่องจากปริมาณอาหารจากร้านอาหารจะมี ปริมาณมากกว่า
  2. เลือกอาหารประเภทปิ้งหรือย่างแทนการทอดหรือต้ม เนื่องจากน้ำซุปที่ร้านอาหารจะมีปริมาณโซเดียมสูง
  3. แจ้งกับทางร้านอาหารไม่ให้เติมเกลือขณะปรุงอาหาร
  4. อาหารที่มีน้ำซอสราดหรือแกงต่างๆ ให้แยกน้ำซอสหรือแกง ไม่ให้ราดไปบนอาหารหรือข้าว
  5. ก่อนทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดให้เอาส่วนบริเวณหนังออก เพราะหนังของเนื้อสัตว์จะเป็นส่วนที่มีโซเดียมจากการหมักและปรุงรสมากที่สุด
  6. ไม่ควรใส่ซอสหรือปรุงรสเค็มเพิ่ม
  7. ใช้มะนาว เครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติอาหารแทนการใช้เกลือ
 

รายการอาหารโซเดียมต่ำที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคไต


7Techniq-food_website_5-(1).jpg

1.กลุ่มผลไม้
  •    ผลไม้กระป๋องที่ไม่มีการเพิ่มน้ำตาล
  •    ผลไม้แห้ง (มีปริมาณโพแทสเซีมสูง)
  •    น้ำผลไม้ (มีปริมาณโพแทสเซีมสูง) ยกเว้น แอปเปิ้ล, แบล็คเบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่, องุ่น, สับปะรด, สตรอเบอร์รี่, แตงโม

2.กลุ่มผัก
  •    ผักกระป๋อง(แนะนำให้นำมาลวกด้วยน้ำก่อนรับประทานเพื่อลดปริมาณโซเดียม)
  •    ผักแช่แข็ง

3.กลุ่มเนื้อสัตว์
  • เนื้อสัตว์กระป๋อง  (แนะนำให้นำมาลวกด้วยน้ำก่อนรับประทานเพื่อลดปริมาณโซเดียม หรือเลือกแบบไม่แช่ด้วยเกลือ)
  • เนื้อสัตว์แช่แข็ง

4.กลุ่มถั่ว
  • ถั่วเมล็ดแห้ง ไม่โรยเกลือ (มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง)
  • ถั่วกระป๋อง เลือกแบบที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ (มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง)

5.กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • นมกล่องหรือนมกระป๋อง (มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง)
  • นมถั่วเหลืองและนมอัลมอนด์ (มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง)
  • นมข้าว

6.กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช
  • ข้าวขัดสี
  • แคร็กเกอร์หรือขนมปังอบกรอบที่ไม่โรยเกลือ
  • ข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวมันปู ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (มีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง)
  • ธัญพืชอบแห้ง(มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง)

7.ไขมัน
  • น้ำมันพืชทุกชนิด ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก

**สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่มีปริมาณโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตทั้งก่อนล้างไตและผู้ที่ล้างไต ให้งดและจำกัดอาหารที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง**

 

วิธีการเตรียมความพร้อมเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตในกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถเดินทางไปล้างไตที่โรงพยาบาลได้

  1. ถ้ามีการกักตุนอาหาร ควรเช็ควันเดือนปีผลิตก่อนนำมาทานทุกครั้ง
  2. อาหารหรือนมกระป่อง ถ้าเปิดออกแล้วและทานไม่หมดควรแช่ใส่ตู้เย็น หรือทานให้หมดภายใน 4 ชั่วโมงเมื่อตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง
  3. ใช้ที่วัดอุณหภูมิในการตรวจสอบอุณหภูมิของตู้เย็น ซึ่งอุณหภูมิในการเก็บอาหารที่เหมาะสมควร น้อยกว่า 5 องศาเซลเซียสแต่ถ้ามีอุณภูมิสูงกว่า 5 องศาเซลเซียสจะสามารถเก็บรักษาอาหารได้แค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น
  4. จำกัดปริมาณของเหลว โดยดื่มน้ำเฉลี่ย 450-500 มล.ต่อวัน แนะนำค่อยๆจิบน้ำระหว่างวัน เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำที่จะเกิดขึ้น
  5. ไม่ปรุงอาหารด้วยเกลือและใช้ซอสปรุงรสในการประกอบอาหารให้น้อยที่สุด 
  6. หลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง แนะนำให้นำผักไปลวกหรือต้มเพื่อลดปริมาณโพแทสเซียม
  7. ถ้าผู้ป่วยโรคไตมีโรคเบาหวานร่วมด้วย แนะนำให้พกลูกอมหรือน้ำหวานติดตัวเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำระหว่างวัน
 
 
Ref: National Kidney Foundation
The American Kidney Foundation
เรียบเรียงโดย นาวสาวสาธิดา เจรียงโรจน์ Dietitian level2
แผนกโภชนบำบัด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs