bih.button.backtotop.text

กระดูกหักติดผิดรูป

กระดูกหักติดผิดรูป คือกระดูกหักที่หายแล้ว แต่ติดในตำแหน่งหรือท่าที่ผิดปกติ พบว่าขาหรือแขนติดในตำแหน่งหรือท่าที่ผิดปกติ พบว่าขาหรือแขนข้างที่เป็น มีการโก่งหรือโค้ง บิด หมุน และอาจมีการสั้นของขาหรือแขนร่วมด้วย

อาการ
อาการแสดงที่พบบ่อยคือ บวม ปวดเวลาเคลื่อนไหว ใช้งาน หรือลงน้ำหนักแขนขาข้างนั้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวด และข้อติดหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อบริเวณใกล้เคียง เช่นกระดูกต้นขา (Femur) หักแต่ติดผิดรูป ทำให้มีอาการปวดเข่า และข้อเข่าติด

นอกจากนี้คนไข้ที่มีการสั่นของขาร่วมด้วยหากเป็นอยู่นานก็จะทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่างได้หากเราปล่อยให้สภาพกระดูกผิดรูปเป็นอยู่นานอาจทำให้เกิดอาการเสื่อม และอักเสบของข้อข้างเคียง จนในที่สุดไม่สามารถใช้งานแขนหรือขาข้างนั้นได้
 
การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจทางรังสีวิทยา (X-ray) ส่วนในรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดจะมีการตรวจด้วยคอมพิวเตอร์สแกน (CT-scan) เพื่อหาตำแหน่งและขอบเขตของกระดูกส่วนที่ผิดรูปเพื่อวางแผนในการผ่าตัดรักษา ในบางกรณีอาจมีการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อประเมินความเสื่อมของผิวข้อ (cartilage) และความมั่นคงของเนื้อเยื่อข้อเข่า (Ligaments integrity)
 
การรักษากระดูกผิดรูปที่ได้ผล จะเป็นการผ่าตัดรักษา ทำโดยการตัดกระดูกบริเวณส่วนที่เคยหักหรือใกล้เคียง แล้วจัดกระดูกให้กลับมาอยู่ไมแนวปกติหรือ ใกล้เคียงปกติ หากมีการสั้นของกระดูกร่วมด้วยก็จะได้รับการยืดออกให้เท่าหรือใกล้เคียงกับขาข้างปกติ โดยส่วนมากกระดูกที่ได้รับการแก้ไขจัดแนวแล้ว จำเป็นต้องใช้โลหะยึดตรึงกระดูกไว้ (internal fixation) เพื่อทำให้มั่นคง ไม่มีการเคลื่อนหลุด เวลาที่ขยับหรือคลื่อนไหวแขนขาข้างนั้น
 

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ออร์โธปิดิกส์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 2 คน

Related Health Blogs