bih.button.backtotop.text

โควิด-19 กับสตรีตั้งครรภ์

ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นตระกูลใหญ่ของไวรัสซึ่งอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยในสัตว์หรือมนุษย์ ในมนุษย์พบว่าไวรัสโคโรนาเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่รุนแรงมากขึ้น เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East respiratory syndrome: MERS) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (severe acute respiratory syndrome: SARS) ไวรัสโคโรนาที่ค้นพบล่าสุดทำให้เกิดโรคโควิด-19 (coronavirus disease 2019 หรือ COVID-19)

โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ระบาดได้รวดเร็วจนแพร่กระจายทั่วโลก เกิดจากเชื้อไวรัสตระกูลโคโรนา (Corona) ชื่อ novel coronavirus (severe acute respiratory syndrome coronavirus-2: SARS-CoV-2) มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2562
 

การติดต่อ
ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านทางสัมผัส ละอองฝอยจากการไอหรือจาม
อาการส่วนใหญ่คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ โดยผู้ป่วยที่รับไว้ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ร้อยละ 83 มีไข้ ร้อยละ 82
ไอแห้ง ร้อยละ 31 หายใจติดขัด ร้อยละ 11 ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีเพียงร้อยละ 5 เจ็บคอและร้อยละ 4 เท่านั้นที่มีน้ำมูกไหล รายที่มีอาการรุนแรงจะเกิดปอดอักเสบ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้ ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่มีรายงานทางการแพทย์ว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีอาการและอาการแสดงแตกต่างจากคนทั่วไป หรือมีความเสี่ยงสูงที่โรคจะรุนแรง ไม่พบหลักฐานว่าจะเกิดการติดเชื้อผ่านทางรกไปยังทารกในครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากตรวจไม่พบเชื้อโรคจากน้ำคร่ำ เลือดจากสายสะดือทารก สารคัดหลั่งในช่องคลอด สารคัดหลั่งที่ป้ายจากลำคอทารกแรกเกิด หรือน้ำนม ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์ยังสรุปได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากข้อมูลมีจำกัด
1. สตรีตั้งครรภ์ควรป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้อย่างไร
  • สตรีตั้งครรภ์ควรใช้ความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโควิค-19 เช่นเดียวกับคนอื่นๆ โดย
    • การล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลถูมือจนแห้ง
    • หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือแออัด ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ให้อยู่ห่างจากคนอื่นประมาณ 1.5 เมตร
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูกและปาก
    • สวมหน้ากากอนามัย
    • ปิดปากและจมูกด้วยข้อศอก ผ้าหรือทิชชูเมื่อไอหรือจาม จากนั้นทิ้งทิชชูที่ใช้แล้วในถังขยะที่ปิดมิดชิด

​2. ​​​ควรมีการดูแลระหว่างฝากครรภ์อย่างไร
แพทย์จะให้การดูแลเช่นเดียวกับสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ติดเชื้อ
  • กรณีที่มีเชื้อไวรัส สตรีตั้งครรภ์ต้องได้รับการแยกกักตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 14 วันหรือจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อไวรัส

3.จำเป็นต้องคลอดโดยการผ่าตัดคลอดหรือไม่
  • การผ่าท้องคลอดจะทำตามแนวทางในการปฏิบัติตามมาตรฐานของโรงพยาบาลและข้อบ่งชี้ของสูติแพทย์เป็นผู้พิจารณา โดยสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง (person under investigation) แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดคลอด
  • สามารถให้การระงับความรู้สึกด้วยการบล็อกหลังได้

4. การดูแลทารกหลังคลอดกรณีมารดาติดเชื้อไวรัสหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง (person under investigation)
  • ทารกจะได้รับการอาบน้ำโดยเร็วที่สุดภายหลังคลอด
  • ทารกต้องได้รับการแยกกักตัวอย่างน้อย 14 วันหรือจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อไวรัส เพื่อลดความเสี่ยงของ
การแพร่เชื้อสู่ทารก


5.การให้นมบุตรกรณีมารดาติดเชื้อไวรัสหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง (person under investigation)
  • เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ ข้อมูลมีจำกัด เพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
    • แนะนำให้มารดาปั๊มนมแช่แข็งเก็บไว้ก่อนจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อไวรัส
    • สวมหน้ากากอนามัยขณะปั๊มนม
    • ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสชิ้นส่วนปั๊มหรือขวด
    • ปฏิบัติตามคำแนะนำในการทำความสะอาดปั๊มที่เหมาะสมหลังการใช้

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs