bih.button.backtotop.text

คำแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์แฝด

การตั้งครรภ์แฝดเป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างมากในครอบครัว อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์แฝดอาจมีความเสี่ยงต่อมารดาและทารกได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

การตั้งครรภ์แฝดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. แฝดแท้หรือแฝดจากไข่ใบเดียว เกิดจากเชื้ออสุจิ 1 ตัวเข้าไปปฏิสนธิกับไข่เพียงใบเดียว ต่อมาไข่ที่ถูกผสมแล้วเกิดการแบ่งแยกตัวเองเป็น 2 ใบในภายหลัง
  2. แฝดเทียมหรือแฝดคนละใบ เกิดจากเชื้ออสุจิ 2 ตัวหรือมากกว่าเข้าไปผสมกับไข่ 2 ใบหรือมากกว่า ทำให้แฝดกลุ่มนี้อาจมีเพศ หน้าตา และกรุ๊ปเลือดเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ได้
คุณควรดูแลการตั้งครรภ์เป็นพิเศษในกรณีครรภ์แฝด ควรพบแพทย์บ่อยขึ้นและต้องรับการตรวจวินิจฉัยมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ ควรวางแผนในการอบรมการตั้งครรภ์คุณภาพในช่วงอายุครรภ์ระหว่างเดือนที่ 4-6 ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการดูแลเฉพาะสำหรับการตั้งครรภ์แฝด
มีหลายวิธีที่จะทำให้ทราบถึงสุขภาพของทารกแฝด แพทย์อาจแนะนำวิธีการสังเกตหรือวิธีการตรวจอย่างอื่นร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
  • ให้นับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นที่บ้าน
  • แพทย์ตรวจภายในหรือใช้วิธีอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความเป็นไปได้ที่จะคลอดก่อนกำหนดหรือไม่
  • ตรวจด้วยอัลตราซาวนด์อีกครั้งเพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกแฝด
  • วัดอัตราการเต้นของหัวใจของทารกแฝดว่าสัมพันธ์กับการดิ้นหรือไม่ (การทดสอบสุขภาพทารกในครรภ์)
  • ตรวจดูอัตราการเต้นของหัวใจทารก การเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อ และปริมาณน้ำคร่ำโดยการอัลตราซาวนด์
 
การมีลูกแฝดเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น การจะให้ทารกแฝดเริ่มต้นชีวิตที่ดีนั้น มารดาเองจะต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุด ทราบสัญญาณเตือนของปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดในขณะตั้งครรภ์ และควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
 

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs