bih.button.backtotop.text

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับโรคหัวใจ

01 มกราคม 2557
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่สร้างความทุกข์กายและกังวลใจให้กับผู้ป่วยและคน รอบข้าง มาหาคำตอบกับปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความ เสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้รู้จักกับอาการบางอย่างของโรค และทราบถึงโปรแกรมการฟื้นฟู ภายหลังการรักษาโรค
 

Q: ยาคุมกำเนิดเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจจริงหรือไม่คะ


A: ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสม ของฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจเพิ่ม โอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่อ โรคหัวใจประการอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่า จะเป็นวัย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน หรือการสูบบุหรี่ ดังนั้น หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เป็นโรคลิ่มเลือดอุดตัน โรคความดัน โลหิตสูง โรคหลอดเลือดดำอักเสบ หรือเป็นโรคหัวใจบางชนิดอยู่แล้ว อาทิ ลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เพราะ ปัจจุบันก็มียาคุมกำเนิดที่ใช้ฮอร์โมนอื่นที่ ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เช่นกัน สำหรับผู้หญิงที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม เสี่ยงต่อโรคหัวใจดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้ ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมน เอสโตรเจนก็ค่อนข้างที่จะปลอดภัย

 

Q: ภาวะหัวใจโตคืออะไร มีอาการและเป็นอันตรายอย่างไรคะ


A: ภาวะหัวใจโตเป็นอาการหนึ่งที่เกิดได้ในหลายโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ


ซึ่งส่งผลให้หัวใจต้อง ทำงานหนักกว่าปกติ ทำให้ประสิทธิภาพ การทำงานของหัวใจ ลดลง อาการที่พบได้คือ หายใจหอบ เหนื่อยง่ายเวลา ออกแรงหรือนอนราบ ไอบ่อยตอนกลางคืน ใจสั่น ขาบวม ในบางราย อาจไม่ปรากฏอาการให้เห็นชัด ดังนั้นแพทย์จึงต้องตรวจเพิ่มเติม ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) เพื่อพิสูจน์ว่า มีภาวะหัวใจโตหรือไม่ และจาก สาเหตุใด ส่วนจะเป็นอันตราย หรือไม่นั้น แพทย์จะพิจารณา จากประวัติสุขภาพ ร่วมกับการ สังเกตอาการอื่น ๆ ก่อนจะให้ การรักษาตามสาเหตุต่อไป

 

Q: การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจคืออะไร ใครที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูบ้าง


A: การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นกระบวนการต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลังจากที่แพทย์ทำการ รักษาจนสามารถควบคุมโรคได้แล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยที่อาจยังไม่กลับคืนสู่ภาวะปกตินักได้กลับมามีคุณภาพ ชีวิตที่ดี มีความมั่นใจ และยังเป็นการลดโอกาสในการเกิดโรคซ้ำ

โปรแกรมในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมักประกอบด้วยการตรวจ ติดตามโรคอย่างสม่ำเสมอ การให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการดำเนินชีวิต และการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน โดยโปรแกรมดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกันของบุคลากรทางการแพทย์ หลากหลายสาขาวิชา อาทิ อายุรแพทย์โรคหัวใจ แพทย์สาขาเวชศาสตร์ ฟื้นฟู และนักโภชนาการเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างรอบด้าน จึงเป็น โปรแกรมที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจทุกคน

 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs