bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดไส้ติ่งผ่านทางหน้าท้อง

การผ่าตัดไส้ติ่งผ่านทางหน้าท้องเป็นวิธีผ่าตัดแบบเดิม คือ ผ่าเปิดท้องน้อยด้านขวาเป็นรอยยาวประมาณ 2-3 นิ้ว โดยแพทย์จะนำไส้ติ่งออกทางรอยผ่านี้

ไส้ติ่ง
ไส้ติ่งมีลักษณะเป็นท่อเรียวความยาวประมาณ 4 นิ้ว อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ไม่ทราบแน่ชัดว่าไส้ติ่งมีประโยชน์อย่างไร แต่มีทฤษฎีหนึ่งบอกว่าไส้ติ่งทำหน้าที่เป็นคลังเก็บแบคทีเรียตัวดีไว้ เมื่อไรก็ตามที่ไส้ติ่งเกิดอักเสบจะต้องเอาออก มิฉะนั้นไส้ติ่งอาจทะลุทำให้สิ่งที่อยู่ภายในซึ่งมีเชื้อโรคอยู่กระจายไปยังช่องท้อง ไส้ติ่งอาจแตกได้ตั้งแต่ 48-72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ ไส้ติ่งอักเสบจัดเป็นภาวะฉุกเฉิน ทุกคนที่ไส้ติ่งอักเสบต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อผ่าตัดเอาไส้ติ่งที่อักเสบออก
 
อาการไส้ติ่งอักเสบ
  1. ไส้ติ่งอักเสบทำให้ปวดท้อง อาการปวดอาจเป็นดังนี้
  • อาจเริ่มปวดบริเวณรอบๆ สะดือ แล้วย้ายลงไปที่ท้องน้อยด้านขวา แต่บางคนอาจเริ่มปวดที่ท้องน้อยด้านขวาก็เป็นได้
  • เมื่อเวลาผ่านไปมักปวดมากขึ้น
  • อาจรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย หายใจลึกๆ ถูกสัมผัส และเมื่อไอหรือจาม
  • ถ้าไส้ติ่งแตกอาจปวดไปทั่วทั้งท้อง
  1. ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆ เช่น คลื่นไส้และอาเจียน เบื่ออาหาร มีไข้และหนาวสั่น ท้องผูก ท้องเสีย ไม่สามารถผายลมได้ และท้องบวม
  2. ไส้ติ่งอักเสบอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ นอกจากนี้ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เสมอเพื่อวินิจฉัยอาการและรักษาได้อย่างถูกต้อง
**ประเด็นสำคัญที่ควรทราบคือห้ามผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบใช้ยาถ่ายหรือสวนทวารเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกเป็นอันขาด เนื่องจากอาจทำให้ไส้ติ่งแตกได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดเพราะฤทธิ์ยาอาจทำให้ไม่สามารถรับรู้อาการแสดงออกอื่นๆ ของโรคได้**
 
เพื่อนำไส้ติ่งที่มีการอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรียออกไป ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงบริเวณรอบสะดือลงมาถึงท้องด้านล่างขวา
 
เนื่องจากการผ่าตัดไส้ติ่งทำโดยให้ผู้ป่วยดมยาสลบ จึงมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดมยา ความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจพบได้แก่
  • เลือดออกมาก
  • ติดเชื้อ
  • ลำไส้บริเวณที่เอาไส้ติ่งออกเกิดรอยรั่ว
  • เกิดแผลที่อวัยวะอื่นซึ่งอยู่ใกล้เคียง เช่น บริเวณลำไส้เล็ก ท่อไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
  • เกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด
 
ข้อบ่งชี้ที่ต้องติดต่อแพทย์
ติดต่อแพทย์ทันทีหากผู้ป่วยมีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  • มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส โดยไข้ไม่ยอมลด
  • เลือดออก
  • ท้องบวมขึ้นเรื่อยๆ
  • มีอาการปวด รับประทานยาแล้วยังคงปวดอยู่
  • คลื่นไส้หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • ไอไม่หยุดหรือหายใจติดขัด
  • มีหนองออกมาจากรอยผ่าตัดจุดใดจุดหนึ่ง
  • รอบแผลผ่าตัดบวมแดง โดยที่รอยแดงขยายใหญ่ขึ้นหรือสภาพแย่ลง
  • ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาวะร่างกายของผู้ป่วย การปฏิบัติตัวหลังการทำหัตถการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์


หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น

ไส้ติ่งอาจแตกและกระจายไปในช่องท้อง ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อ

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs