การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่โดยใช้กล้องส่องผ่านทางหน้าท้อง
คือ การตัดเอาถุงน้ำออกจากรังไข่ เพื่อเป็นการรักษาภาวะถุงน้ำที่รังไข่และช่วยในการวินิจฉัยโรคโดยการเจาะผ่านทางหน้าท้องหรือผิวหนังใกล้บริเวณที่ต้องการจะทำการผ่าตัด เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องขนาดเล็กเพื่อบันทึกภาพและส่งมายังจอรับภาพ
ก้อนที่รังไข่หรือเนื้องอกรังไข่ (ovarian tumor)
รังไข่เป็นอวัยวะที่สำคัญของสตรี ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยพัฒนาการเจริญพันธุ์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ในหญิงทุกอายุ แต่พบได้น้อยในเด็กและในผู้สูงอายุ
อาการที่พบบ่อย
- ไม่มีอาการ
- คลำก้อนได้หรือท้องโตขึ้น
- ปวดท้อง อาจร่วมกับมีไข้
- ถ่ายอุจจาระลำบาก ท้องอืด
การวินิจฉัยเนื้องอกรังไข่
ประวัติอาการและจากการตรวจภายในที่คลำพบก้อนเนื้อในท้องน้อย ซึ่งแพทย์มักส่งตรวจสืบค้นเพิ่มเติมด้วยอัลตราซาวนด์ และ/หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ท้องน้อยหรือช่องท้อง
กรณีที่สงสัยว่าเป็นเนื้องอกรังไข่
- แพทย์อาจตรวจเลือด ดูค่าสารมะเร็งของมะเร็งรังไข่ (CA 125)
- อัลตราซาวนด์ การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance Imaging: MRI) การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography scan: CT scan)
- การผ่าตัดและผลตรวจก้อนเนื้อหลังผ่าตัด ซึ่งเป็นการตรวจทางพยาธิวิทยา
การผ่าตัดจะพิจารณาทำในกรณีต่อไปนี้
- ก้อนที่เป็นถุงน้ำไม่ยุบไปภายหลังการตรวจติดตาม
- วินิจฉัยว่าก้อนที่รังไข่นั้นเป็นเนื้องอก ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ก็ตาม
- เกิดภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงของก้อนเนื้องอก เช่น ปวดท้องรุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการบิดหมุนของก้อน การแตกของก้อน การมีเลือดออกจากก้อน
การเตรียมตัวก่อนทำหัตการ
หลังจากปรึกษาแพทย์แล้วว่าท่านควรผ่าตัด แพทย์จะนัดวันเวลาสำหรับการผ่าตัดและท่านจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดดังต่อไปนี้
- การมาถึงโรงพยาบาลและพบเจ้าหน้าที่ก่อนเวลานัดผ่าตัดอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- การงดน้ำงดอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัดตามที่แพทย์แนะนำเพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง ไม่เกิดการสำลักอาหารขณะดมยาสลบ และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่แต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ เพื่อแพทย์จะดูการไหลเวียนของเลือดขณะทำการผ่าตัดและการประเมินหลังผ่าตัด
- ไม่ควรนำเครื่องประดับหรือสิ่งของราคาแพงมาด้วย เพื่อป้องกันการสูญหาย ในรายที่ใส่ฟันปลอม คอนแทคเลนส์ ให้ถอดก่อนเข้าห้องผ่าตัด
- แพทย์จะเตรียมร่างกายของท่านโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นก่อนการผ่าตัดและสั่งตรวจทดสอบอื่นเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
- แพทย์จะแนะนำการรับประทานยา หากท่านมียาประจำที่รับประทานอยู่ซึ่งอาจจำเป็นต้องงดยาบางอย่าง เช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด แอสไพริน สมุนไพรหรืออาหารเสริมที่อาจทำให้เลือดออกมากขึ้น ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณา หรือยาที่รับประทานประจำที่สามารถรับประทานได้ท่านอาจจิบน้ำได้เล็กน้อยพร้อมยา
- ควรมีญาติเพื่อรับท่านกลับบ้านหรืออยู่เป็นเพื่อนขณะที่ท่านต้องนอนพักอยู่ต่อในโรงพยาบาล
เงื่อนไข:
- ผู้มีสิทธิใช้โปรแกรม คือ ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวหรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมได้ โดยแพทย์ผู้ทําการรักษา เห็นสมควรให้ใช้โปรแกรมได้
- ผู้ที่ไม่สามารถใช้โปรแกรมได้ คือ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดรังไข่โดยใช้กล้องส่องช่องท้อง ผู้ป่วยที่มี ปัญหาทางการแพทย์หรือมีโรคประจําตัวเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น
- การทํางานของอวัยวะสําคัญล้มเหลว
- ปัญหาทางโรคเลือด
- ราคานี้ใช้ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า)
- แพ็กเกจนี้สามารถเข้ารับบริการได้ภายใน 365 วัน นับจากวันที่ซื้อสำเร็จ
กรณีมีข้อสงสัยสามารถติดต่อเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เวลาทำการ เวลา 07.00-20.00 น.
ติดต่อแผนกสูตินรีเวช โทรศัพท์ 0-2011-2361, 0-2011-2365
นอกเวลาทำการ ติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทรศัพท์ 0-2066-8888