RSV ชื่อเต็มคือคือ Respiratory Syncytial Virus เป็นหนึ่งในเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบติดเชื้อ เชื้อไวรัส RSV สามารถติดต่อได้กับคนทุกเพศทุกวัย
การฉีดวัคซีน RSV ในคุณแม่ตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร
ที่สำคัญถ้าเด็กแรกเกิด โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 6 เดือน ถ้าได้รับการติดเชื้อ RSV ก็อาจจะทำให้เกิดอาการรุนแรง จนถึงขั้นจะต้อง admit หรือว่าต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และรุนแรงที่สุดก็อาจจะทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ในอดีตเมื่อมีการติดเชื้อ RSV ก็จะรักษาตามอาการ แต่ในปัจจุบันมีวัคซีนที่ฉีดให้คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับตัววัคซีนอันก็จะมีการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือที่เราเรียกว่า anti body สามารถส่งผ่านทางรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ก็จะเสมือนมีเกราะป้องกัน RSV ตั้งแต่วันแรก
การให้วัคซีนต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้ผลดีเพียงใด
ประสิทธิภาพของวัคซีน RSV ก็มีการศึกษาในหลาย ๆ ประเทศ มีการให้วัคซีนต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 24-36 สัปดาห์ ก็พบว่าการให้วัคซีน RSV ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงในทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 3 เดือนได้ถึง 82%
ผลข้างเคียงของการรับวัคซีนต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
หลาย ๆ ท่านกังวล เพราะว่าต้องได้รับวัคซีนในช่วงขณะตั้งครรภ์ ก็พบว่าโดยส่วนใหญ่ผลข้างเคียงก็คงไม่ได้แตกต่างจากการได้รับวัคซีนอื่น ๆ ที่เราได้รับกันอยู่แล้วในขณะตั้งครรภ์ โดยมากก็จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด อาการปวดศีรษะหรือว่าปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้เนี่ยก็เป็นอาการที่ไม่รุนแรง แล้วก็มักจะหายได้เองภายในเวลา 2-3 วันเท่านั้น
สามารถฉีดร่วมกับวัคซีนตัวอื่นได้หรือไม่ ในระหว่างตั้งครรภ์
คุณแม่เองก็อาจจะได้รับคำแนะนำในการฉีดวัคซีนหลาย ๆ ตัว เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโควิด วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก ในส่วนของ RSV สามารถฉีดร่วมกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือว่าวัคซีนป้องกันโควิดได้ โดยไม่ได้มีอันตรายต่อตัวคุณแม่
แต่การฉีดร่วมกับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก อาจจะต้องมีความระมัดระวังนิดนึงนะครับ ในแง่ของความปลอดภัยคงไม่มีปัญหา แต่ว่าการฉีดพร้อมกัน ระหว่างตัวคอตีบ-บาดทะยักกับคซีน RSV อาจจะทำให้การกระตุ้นภูมิคุ้มกันของตัวไอกกรนขึ้นได้ไม่ดีนัก เพราะฉะนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์กับตัวทารกเอง ก็ควรจะเว้นระยะห่าง ระหว่างวัคซีน RSV กับตัวคอตีบ-บาดทะยักสักประมาณ 2 สัปดาห์
คุณแม่ท่านใดที่มีข้อสงสัยหรือมีคำถามเพิ่มเติมสามารถมาปรึกษาได้น ที่ศูนย์สูตินรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โดย ผศ.นพ. สมมาตร บำรุงพืช
สูติแพทย์เฉพาะทาง ด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 30 มิถุนายน 2568