bih.button.backtotop.text

รู้จักกับแพทย์ใหม่บำรุงราษฎร์

14 มกราคม 2554

 

รู้จักกับแพทย์ใหม่บำรุงราษฎร์

เพราะมุ่งมั่นที่จะมอบการดูแลที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย รพ. บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อดำรงและสร้างสรรค์ความเป็นเลิศ ในการให้บริการด้านการแพทย์ Better Health ขอแนะนำให้รู้จักกับแพทย์ใหม่ที่มากด้วยทักษะและประสบการณ์ที่จะมาเสริมทีมแพทย์ของเราให้มีความแข็งแกร่ง และพร้อมดูแลผู้ป่วยได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น

 

 
 
 

พญ. ปริญญรัตน์ บุรุษนุกูล กุมารแพทย์ (ประสาทวิทยา)

 
พญ. ปริญญรัตน์ใช้เวลา 7 ปีในสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาด้านประสาทวิทยา สมอง และประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อก่อนจะกลับมาร่วมงานกับบำรุงราษฎร์ ความสนใจพิเศษของคุณหมอคือ การรักษาผู้ป่วยเด็กซึ่งมีความผิดปกติของสมองและประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อ
 
Q:  เทคโนโลยีมีส่วนช่วยเสริมการทำงานอย่างไรบ้าง

A: ช่วยมากในเรื่องการเก็บข้อมูล ช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเหมือนมีตำราหลายเล่ม พร้อมภาพประกอบพร้อมใช้อยู่ใกล้มือ แต่ถูกย่ออยู่ในรูปแบบที่พกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก เป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และเป็นความอุ่นใจของแพทย์ด้วยเช่นกันที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าใจเรื่องบางเรื่องได้เป็นอย่างดี

Q: สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการเป็นแพทย์คืออะไร

A: สมัยเป็นนักเรียนแพทย์อาจารย์แพทย์ได้สอนว่า การดูแลรักษาผู้ป่วย แพทย์เราต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ สิ่งที่คิดว่ายากที่สุดคือ คุยกับผู้ป่วยอย่างไรให้ได้รับความไว้วางใจ รวมทั้งวางแผนการรักษาให้เหมาะสม กับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย เรียกว่ามีศิลปะในการเป็นแพทย์นั่นเอง

Q: คำแนะนำดี ๆ ข้อใดที่ได้รับ และนำมาปรับใช้ในการทำงาน

A: สิ่งที่ตนเองยึดถือตลอดมาในการดูแลผู้ป่วยก็คือ ความปรารถนาดี ให้การรักษาด้วยความตั้งใจ และทำหน้าที่ของแพทย์ให้ดีที่สุด ไม่ติเตียนหรือกล่าวโทษผู้อื่นเพราะไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง และรู้ว่าควรขอความช่วยเหลือเมื่อไร

 

นพ. ฉันทวัฒน์ เชนะกุล สูตินรีแพทย์ (มะเร็งวิทยา)
นพ. ฉันทวัฒน์ เชนะกุล สูตินรีแพทย์ (มะเร็งวิทยา)

นพ. ฉันทวัฒน์เป็นสูตินรีแพทย์มากว่า 20 ปี ผ่านการอบรมเรื่องมะเร็งทางสูตินรีเวช และศัลยกรรมบริเวณเชิงกรานจากประเทศออสเตรียและเยอรมนี มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการศัลยกรรมทางนรีเวช โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดแบบแผลเล็ก

Q: ประทับใจสิ่งใดมากที่สุดเมื่อได้ร่วมงานกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
A: ต้องยอมรับว่าบำรุงราษฎร์เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลชั้นนำของไทย เป็นโรงพยาบาลที่มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ทั้งในแง่ของแพทย์ และผู้ป่วย ผมคงไม่อาจบรรยายได้หมดว่าประทับใจเรื่องอะไรบ้าง แต่ รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ที่นี่
Q: ในช่วงเวลาที่ผ่านมา วงการสูตินรีเวชมีจุดเปลี่ยน หรือพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่คุณหมอสังเกตเห็น

A: ตอนที่ผมยังเป็นนักศึกษาแพทย์ การผ่าตัดมักจะต้องเปิดแผลให้ใหญ่มากพอ ใครที่เปิดแผลไม่ใหญ่พอก็จะต้องถูกอาจารย์อบรมกันยกใหญ่ แต่ในช่วง 10 ปีมานี้ เทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็กก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จนปัจจุบัน เราพูดกันถึงเรื่องการใช้หุ่นยนต์ หรือใช้กล้องหุ่นยนต์ในการผ่าตัดกันแล้ว ผมดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญนี้นอกจากนั้นสำหรับสูตินรีแพทย์ทางด้านมะเร็งแล้วจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกอย่างคงเป็นเรื่องของการค้นพบวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 

Q: คำแนะนำดี ๆ ข้อใดที่ได้รับ และนำมาปรับใช้ในการทำงาน

A:บางครั้งคุณก็จำต้องเลือกเดินบนเส้นทางที่แตกต่าง ความท้าทายที่เกิดขึ้นเป็นวัคซีนชั้นดีในการดำเนินชีวิต
 

นพ. สุเรส นารูลา อายุรแพทย์โรคหัวใจ

นพ. สุเรส นารูลา อายุรแพทย์โรคหัวใจ นพ. สุเรสใช้เวลาในช่วงแรกของการเป็นแพทย์ร่วมงานกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อให้การดูแลทางการแพทย์แก่ผู้ลี้ภัยในค่ายบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ด้วยความเชี่ยวชาญเรื่องโรคหัวใจ และความเอาใจใส่ของ     นพ.สุเรส ผู้ป่วยหลายรายจึงกลับมามีสุขภาพดีได้ภายหลังภาวะหัวใจวิกฤติ

 Q: เพราะเหตุใดจึงเลือกเป็นแพทย์รักษาโรคหัวใจ
A: ความท้าทายสำหรับผม คือสถานการณ์ที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะคับขันระหว่างความเป็นกับความตาย ในเสี้ยววินาทีวิกฤตินั้น การตัดสินใจของแพทย์เป็นตัวชี้ขาดว่าจะรักษาชีวิตของผู้ป่วยได้หรือไม่ นอกเหนือจากสถานการณ์คับขันแล้ว ในช่วงเวลาปกติ งานของแพทย์โรคหัวใจก็คือการเน้นย้ำให้ผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตระหนักถึงการป้องกัน ร่วมกับการรักษาด้วยยาซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
Q: ประทับใจสิ่งใดมากที่สุดเมื่อได้ร่วมงานกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
A: เพียงแค่เดินเข้ามาในโรงพยาบาล คุณก็สัมผัสถึงประสิทธิภาพและความเป็นมืออาชีพได้ทันที ผมคิดว่าตัวเองตัดสินใจไม่ผิดที่เข้ามาร่วมงานกับบำรุงราษฎร์ เพราะแน่ใจได้เลยว่าคนที่เดินมาหาเราจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดกลับไป
Q: ในช่วงเวลาที่ผ่านมา วงการแพทย์ด้านโรคหัวใจมีจุดเปลี่ยนหรือพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่คุณหมอสังเกตเห็น

A: นับตั้งแต่ปี 2520 ที่ นพ. แอนเดรียส กรูเอนท์ซิก ได้ทำการใส่บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจให้ผู้ป่วยเป็นครั้งแรกของโลก การแพทย์สาขาโรคหัวใจก็ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากจนมีการนำเทคนิควิธีการไปใช้กับรักษาความเจ็บป่วยอื่น ๆ อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง เดี๋ยวนี้เมื่อผู้ป่วยมีทีท่าว่าจะมีอาการหัวใจล้มเหลว เราก็สามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีด้วยเทคโนโลยีที่เรามี ซึ่งช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ในที่สุด นอกจากนี้ พัฒนาการของขดลวดที่ใช้ในการถ่างขยายหลอดเลือด รวมทั้งเทคนิคต่าง ๆ ก็ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ปลอดภัยกว่าเดิม อีกทั้งยังได้ผลดีมากในระยะยาว
 

นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล อายุรแพทย์ มะเร็งวิทยา โลหิตวิทยา
นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล อายุรแพทย์ มะเร็งวิทยา โลหิตวิทยา

นพ. วิเชียรมีประสบการณ์ทางด้านโลหิตวิทยามากกว่า 20 ปี เคยรับหน้าที่เป็นแพทย์ประจำบ้านและทำงานวิจัยเป็นเวลาสองปีกับศูนย์การแพทย์ชั้นนำอย่าง เมโยคลินิกในสหรัฐอเมริกา นพ. วิเชียรนับเป็นผู้บุกเบิกการปลูกถ่ายไขกระดูกแบบเหมือนกันครึ่งเดียว ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย และมะเร็งเม็ดเลือดขาว

Q: ประทับใจสิ่งใดมากที่สุดเมื่อได้ร่วมงานกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
A: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีบรรยากาศทางวิชาการที่สมบูรณ์แบบ เอื้อให้บุคลากรสามารถพัฒนาความรู้ให้ทันสมัย และกว้างขวางมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ในแวดวงของตัวเอง ผมเองได้มีโอกาสไปศึกษาที่เมโยคลินิก ซึ่งเป็นศูนย์การแพทย์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ต้องยอมรับว่าบรรยากาศในการทำงานของเจ้าหน้าที่คล้ายคลึงกันมาก ชื่อเสียง ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ และมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ จนกลายเป็น ศูนย์กลางทางการแพทย์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ผมรู้สึกภาคภูมิใจมากครับ 
Q: เหตุใดจึงมีความสนใจในด้านโลหิตวิทยา

A: ด้วยความที่อยู่โรงเรียนแพทย์ ต้องสอนทั้งนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด เรียกได้ว่าในชีวิตประจำวันก็ต้องสอนในทุก ๆ โรคของสาขานี้ ทำให้รู้สึกว่าโรคทางโลหิตวิทยานั้นมีมากมายจริง ๆ

เรื่องที่ผมได้บุกเบิกอย่างจริงจัง คือ การปลูกถ่ายไขกระดูก โดยเฉพาะชนิดที่ “เหมือนกันเพียงครึ่งเดียว” (ปกติ การปลูกถ่ายไขกระดูก ความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อต้องร้อยเปอร์เซ็นต์) ผมได้เรียนรู้ว่า สิ่งที่อ่านจากตำราอาจใช้ได้ไม่ดีนักหากปราศจากการหล่อหลอมด้วยประสบการณ์ซึ่งเกิดจากการทำงานจริง โดยเฉพาะสำหรับโรคมะเร็งด้วยแล้ว การรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นศิลปะอย่างแท้จริง
Q: สิ่งที่ยากที่สุดในการเป็นแพทย์
A: ผมว่ามีหลายอย่างนะ เช่น การตัดสินใจที่จะให้การรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย และสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยอีกรายหนึ่งด้วย การทำให้ผู้ป่วยและญาติมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และกระบวนการรักษา ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในการรักษาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าค่อนข้างยากทีเดียว
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs