bih.button.backtotop.text

โรคกระเปาะที่ลำไส้ใหญ่

โรคกระเปาะที่ลำไส้ใหญ่ (diverticular disease) คือ โรคที่มีการเกิดกระเปาะหรือถุงโป่ง (เรียกว่า diverticula) ยื่นออกมาทางด้านนอกของผนังลำไส้ โดยอาจมีขนาดต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ และอาจมีกระเปาะเดียวหรือหลายกระเปาะก็ได้

โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 ภาวะคือ
  • ภาวะที่มีกระเปาะหรือถุงโป่งยื่นออกมาทางด้านนอกของลำไส้โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน เรียกว่า diverticulosis
  • ภาวะที่กระเปาะหรือถุงโป่งเกิดการติดเชื้อและก่อให้เกิดการอักเสบตามมา เรียกว่า diverticulitis
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เข้าใจว่าน่าจะเกิดจากอุปนิสัยการรับประทานอาหารที่มีกากใย (fiber) น้อย ทำให้อุจจาระแข็งกว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก เป็นการสร้างแรงกดผนังลำไส้ นานวันเข้าจึงเกิดเป็นกระเปาะที่ผนังลำไส้ได้
 
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนมักไม่มีอาการอะไร แต่ก็มีผู้ป่วยที่อาจพบอาการ เช่น แน่นท้อง ท้องผูกหรือท้องเสีย ปวดเกร็งท้องส่วนล่าง โรคนี้มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอกซเรย์สวนแป้งแบเรียม (barium enema) การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) ผู้ที่ไม่มีอาการจากโรคแทรกซ้อนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการตลอดไป มีเพียงประมาณ 15-25% ที่มึภาวะเลือดออกจากเส้นเลือดในกระเปาะ
หากกระเปาะที่ลำไส้ใหญ่เกิดอาการอักเสบ (diverticulitis) ผู้ป่วยอาจมีอาการดังนี้
  • ปวดท้อง ซึ่งมักเกิดบริเวณหน้าท้องส่วนล่างด้านซ้าย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องผูกหรือท้องเสีย
  • มีไข้ หนาวสั่น
อย่างไรก็ดี หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องจะหายได้เป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
 
ทั้งนี้โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอาจทำให้การรักษาซับซ้อนขึ้นและใช้เวลามากขึ้น
 
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าอาจพบโรคนี้ได้โดยบังเอิญ การตรวจพบโรคนี้กระทำได้โดย
  • โรคกระเปาะลำไส้ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใดๆ
  • การรับประทานอาหารที่มีกากใย (fiber) มากๆ หรืออาจใช้ยาที่เป็นส่วนประกอบของใยอาหาร เพื่อทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม อาจลดการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
  • หากมีการอักเสบของกระเปาะลำไส้ การรักษาขึ้นกับความรุนแรง
    • รายที่อาการไม่รุนแรง การรับประทานยาก็หายได้
    • รายที่โรคมีความรุนแรงอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลและรับยาทางหลอดเลือด หรือต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด
  • เมื่อมีภาวะเลือดออก ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดลงได้ ในบางกรณีอาจต้องได้รับการส่องกล้องสำไส้ใหญ่ (colonoscopic intervention) หรือต้องใช้การผ่าตัด

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักครบวงจร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs