bih.button.backtotop.text

การตรวจคุณภาพการนอนหลับ (Sleep Study)

คือ การตรวจวัดการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายขณะนอนหลับ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น นอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย โรคของหลอดเลือดในสมอง ความจำเสื่อม ตลอดจนสมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง ซึ่งก่อนทำการตรวจคุณภาพการนอนหลับ ผู้เข้ารับการตรวจจะมาพูดคุยกับแพทย์ในเบื้องต้นก่อนว่ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับการนอนหลับ เพื่อให้แพทย์พิจารณาทางเลือกหรือความจำเป็นในการตรวจและรักษาในแบบต่าง ๆ

การตรวจคุณภาพการนอนหลับมีกี่ประเภท
การตรวจสุขภาพการนอนหลับ หรือ sleep test (บางครั้งเรียกว่า sleep study หรือ polysomnography) สามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 ระดับ ตามความละเอียดของข้อมูลที่ตรวจ โดยใช้ตามนิยามของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับของสหรัฐอเมริกา (American Academy of Sleep Medicine หรือ AASM)

ระดับที่ 1 การตรวจสุขภาพการนอนแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการตลอดคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography) เป็นวิธีมาตรฐาน (Gold Standard) มีข้อมูลที่ละเอียด มีความแม่นยำสูง และต้องทำในโรงพยาบาลที่มีมาตรฐาน
 
sleep-clinic-center-01.JPG
 
ระดับที่ 2 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบสมบูรณ์ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดทั้งคืน(Comprehensive-unattended portable polysomnography)  สามารถตรวจได้ในที่พักอาศัย

sleep-clinic-center-02.JPG

ระดับที่ 3 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test) หรือเรียกว่า Mobile Sleep Test การตรวจนี้ จะมีการตรวจ ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจร่วมด้วย หรือการตรวจการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น เหมาะสำหรับทำที่บ้านหรือห้องพัก
 
sleep-clinic-center-03-(1).JPG

ระดับที่ 4 การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด และหรือ วัดลมหายใจขณะหลับ (Single or dual channel portable sleep test) หรือเรียกว่า Mobile Sleep Test เป็นการตรวจเพียงบางส่วน และได้ข้อมูลไม่เกิน 3 อย่างเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลที่ตรวจได้มักจะไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอที่จะนำมาใช้ยืนยันการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ จึงไม่มีการบริการตรวจระดับ 4 ในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เราให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับด้วยระดับที่ 1-3 เท่านั้น เพื่อให้การวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
  1. ผู้ที่นอนกรนดังผิดปกติ
  2. ผู้ที่ง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ หรือตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น หรือตื่นมาแล้วปวดหัว ทั้ง ๆ ที่ได้นอนอย่างเพียงพอ
  3. ผู้ที่หายใจลำบาก และสงสัยว่าจะหยุดหายใจขณะหลับ
  4. ผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น นอนกัดฟัน ฉี่รดที่นอน นอนละเมอ นอนกระตุก นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น
  5. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เพื่อมาตรวจดูว่าขณะนอนหลับร่างกายขาดออกซิเจนหรือไม่
  6. ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะชักขณะนอนหลับหรือเป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy)
  7. ผู้เข้ารับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง เพื่อสอบถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจและรักษาแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้เข้ารับการรักษาควรพาคนที่นอนด้วยมาพบกับแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอนของผู้เข้ารับการตรวจเพิ่มเติม เนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างผู้ที่นอนด้วยจะสามารถให้รายละเอียดได้ดีกว่าผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ
  1. เป็นการตรวจที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา เช่น
    • การตั้งค่าความดันลม (Pressure titration) กรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous positive airway pressure; CPAP)
    • การปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (oral appliances)
  2. การวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น
  3. (Obstructive sleep apnea; OSA)
  4. การวินิจฉัยอาการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ ภาวะชักขณะนอนหลับ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ
  5. การพิจารณาเพื่อยืนยันการตัดสินใจเลือกการผ่าตัดทางเดินหายใจและเพื่อติดตามผลการรักษา
  6. การวินิจฉัยโรคบางชนิด เช่น โรคลมหลับ (Narcolepsy)
ตรวจคุณภาพการนอนหลับ
การตรวจคุณภาพการนอนจะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography) ซึ่งการตรวจประกอบด้วย
  • การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง
  • การวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อลูกตา ใต้คาง และขา
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด
  • การตรวจวัดลมหายใจ
  • วัดระดับเสียงกรน
การตรวจคุณภาพการนอนหลับจะเริ่มต้นในช่วงหัวค่ำ (ประมาณ 20.00 น. ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละราย) ก่อนเริ่มการตรวจเจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอน หรืออาจให้กรอกแบบสอบถามและเอกสารความยินยอมของผู้เข้ารับการตรวจ หลังจากนั้นจะอธิบายลักษณะเกี่ยวกับอุปกรณ์ และการปฏิบัติตัวต่างๆ ระหว่างการตรวจ
  • ผู้เข้ารับการตรวจส่วนมากจะใส่หน้ากากของเครื่องเป่าความดันลมบวก (CPAP mask) เพื่อปรับตัวก่อนในกรณีที่มีภาวะหยุดหายใจระดับรุนแรง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะให้รักษาโดยเครื่องดังกล่าวภายในคืนที่ตรวจเลย
  • เมื่อผู้เข้ารับการตรวจพร้อมที่จะเข้านอน หลังจากชำระร่างกายสะอาดแล้ว เจ้าหน้าที่จะเริ่มทำการติดสายวัด คลื่นไฟฟ้าสมอง รวมถึงกล้ามเนื้อลูกตา กล้ามเนื้อใต้คางและขา รวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
Sleep-Study-02.jpg
ดังนั้นผู้เข้ารับการตรวจจะมีอุปกรณ์ต่างๆ และสายติดที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า คาง หน้าอกและขาทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ยังมีการตรวจระบบหายใจโดยมีสายวัดบริเวณจมูก สายรัดหน้าอก และบริเวณท้อง รวมถึงจะมีเครื่องวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้ว และอาจมีเครื่องวัดระดับเสียงกรน หรือการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การบันทึกภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดตามความจำเป็น ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่อยู่ในห้องควบคุมภายนอกห้องนอนของผู้เข้ารับการตรวจ ซึ่งจะดูแลระหว่างการตรวจ
  1. ทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากไม่มีความเจ็บปวดใดๆ นอกจากความไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือที่ติดตามร่างกายส่วนต่างๆ เท่านั้น
  2. หลีกเลี่ยงนอนกลางวันโดยเฉพาะในวันที่จะมาทำการตรวจ เพราะจะทำให้คุณภาพการนอนในตอนกลางคืนไม่ดี
  3. ในวันที่จะมาทำการตรวจ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป เพราะจะทำให้คุณภาพการนอนหลับผิดปกติ ยกเว้นในรายที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็ นประจำจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการตรวจ
  4. ควรอาบน้ำ สระผมก่อนมาโรงพยาบาล แต่ไม่ควรใช้ conditioner ไม่ใส่ครีม เจล น้ำมันหรือสเปรย์ที่ผม เพราะการติดอุปกรณ์ที่หนังศีรษะจำเป็นต้องให้บริเวณที่ติดอุปกรณ์ไม่มีไขมัน เพื่อให้สัญญาณกราฟคมชัดและอ่านระดับการนอนหลับได้ถูกต้อง
  5. ห้ามทาแป้งหรือครีมบริเวณใบหน้า คอและขา เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ติดแน่นอยู่ได้ตลอดคืน
  6. ห้ามรับประทานยาระบายก่อนมาทำการตรวจ เพราะยาระบายจะทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง และในรายที่รับประทานยานอนหลับอยู่เป็นประจำให้รับประทานยานอนหลับได้ตามปกติ
  7. ยาที่รับประทานเป็นประจำ เช่น ยาควบคุมความดันโลหิต ยาควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด หรือยารักษาโรคอื่นๆ ให้รับประทานได้ตามปกติ
  8. ในการตรวจคุณภาพการนอนหลับ อนุญาตให้ญาติเฝ้าได้ 1 คน ถ้าคนไข้จำเป็นต้องมีคนเฝ้าจริงๆ
  9. นำเครื่องนอนที่ใช้เป็นประจำอยู่ที่บ้าน เช่น หมอน ชุดนอน มาใช้ในวันที่ทำการตรวจได้
  10. ควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลาเข้านอน 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้คุ้นชินกับสถานที่ และเจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการติดอุปกรณ์การตรวจประมาณ 30 นาที
  11. กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบทันที่ ถ้าไม่สบาย เช่น เป็นหวัด หรือมีไข้
  12. หลังจากตรวจเสร็จในช่วงเช้า ผู้รับการตรวจสามารถตื่นนอนตามเวลาปกติ

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

คลินิกคุณภาพการนอนหลับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.33 of 10, จากจำนวนคนโหวต 6 คน

Related Health Blogs