bih.button.backtotop.text

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ

เนื่องจากแนวโน้มของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดมีอัตราสูงขึ้น ในสหรัฐอเมริกาโรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่ทำให้เกิดอัตราการ เสียชีวิตของผู้ป่วยทั้งหญิงและชายสูงเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งในผู้ป่วยชาย และอันดับที่ห้าในผู้ป่วยหญิง

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ
เมื่อผู้ป่วยมีอาการหรือพบความผิดปกติจากการเอกซเรย์ปอด อาจจะช้าเกินไปที่จะทำการรักษา  ปัจจุบันมีการศึกษาทางคลินิกพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ด้วยวิธีการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose computed tomography, LDCT)ประจำปี สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดได้สูงถึงร้อยละ 20 ในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ในขณะที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ นั้น มีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า และที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจ น้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน (Computed Tomography (CT)–Chest)

 
1.png
 
2.png

 
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ และได้รับประโยชน์สูงสุดจากการตรวจ
  1. ผู้ที่สูบบุหรี่จัด มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ 20 มวน/วัน ติดต่อกัน 30 ปีขึ้นไป หรือ สูบบุหรี่ 40 มวน/วัน ติดต่อกัน 15 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่หยุดสูบบุหรี่มาแล้ว แต่น้อยกว่า 15 ปี
  2. ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ได้รับสารพิษเช่น แร่ใยหิน (Asbestos) ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  3. ผู้ที่มีประวัติโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) หรือโรคผังผืดที่ปอด (Pulmonary fibrosis)

ผู้ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงข้างต้น และอาจได้รับประโยชน์จากการตรวจ ได้แก่
  1. ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่
  2. ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด
*** โดยต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และไม่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งใดๆ มาก่อน
 
  1. ผู้ป่วยไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษใดๆ ทั้งสิ้น สามารถรับประทานหารและเครื่องดื่มได้ปกติ เนื่องจากไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
  2. กรุณามาติดต่อที่แผนกเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ก่อนกำหนดการตรวจ 15-30 นาที เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าห้องตรวจ
  3. หากผู้เข้ารับบริการมีเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายที่มีโลหะบริเวณลำตัว ให้ทำการถอดออก และเปลี่ยนเป็นเสื้อที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ ก่อนเริ่มการตรวจ
  1. เจ้าหน้าที่จะทำการจัดท่าโดยให้ผู้เข้ารับบริการนอนบนเตียงตรวจในท่านอนหงายและชูแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ
  2. เจ้าหน้าที่จะแนะนำการกลั้นหายใจขณะสแกนที่ถูกต้อง เพื่อลดการเคลื่อนไหวของอวัยวะในบริเวณที่ตรวจและเพิ่มความคมชัด ให้กับภาพ ผู้เข้ารับบริการจะต้องกลั้นหายใจครั้งละประมาณ 2-5 วินาที
  3. เตียงของเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์จะเลื่อนเข้าออกอย่างช้าๆ ขณะที่ทำการสแกน
  4. การตรวจใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 5-10 นาที
  5. ทราบผลการตรวจภายใน 3 ชั่วโมง หลังเข้ารับการตรวจ

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์โรคปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.59 of 10, จากจำนวนคนโหวต 140 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง