bih.button.backtotop.text

การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

.

การวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ
  1. การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ 
เป็นการฉีดสารทึบรังสีดูช่องทางเดินของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เป็นกระบวนการที่ล่วงล้ำร่างกายเพียงเล็กน้อย แต่ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินได้ว่าหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบ-ตันบ้างหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงเพียงใด ลิ้นหัวใจเปิดปิดได้ดีเพียงใด อีกทั้งยังสามารถวัดความดันภายในหัวใจและส่วนต่างๆ ของหัวใจได้ด้วย
 
การสวนหัวใจ การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
 
  1. การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
เป็นการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography) เป็นวิธีการตรวจหัวใจเพื่อดูเส้นเลือดของหัวใจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ ของหลอดเลือดหัวใจบ้างหรือไม่ รวมถึงใช้ติดตามผลการรักษาภายหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้ที่เข้ารับการตรวจวิธีนี้จะได้รับสารทึบรังสีเพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์ที่ดีที่สุด
 
การตรวจหลอดเลือดหัวใจ Coronary CT Angiography
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือมีหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ เช่น
    • มีอาการเจ็บหน้าอก
    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงให้ผลผิดปกติ หรือไม่สามารถบอกความผิดปกติได้ชัดเจน
    • มีข้อห้ามหรือไม่เหมาะสมในการตรวจหัวใจด้วยวิธีอื่น
  • ผู้ที่ต้องการติดตามผลการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและประเมินอาการก่อนการส่งตรวจทางรังสีวิทยา แพทย์จะซักประวัติการเจ็บป่วย โรคประจำตัว และอาการแพ้ต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อพิจารณาหาแนวทางการป้องกันหรือให้ยาแก้แพ้ก่อนและ/หรือระหว่างการตรวจ
 
  1. ผู้ป่วยจะได้รับยา isosorbide dinitrate พ่นใต้ลิ้น เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจก่อนการตรวจ ช่วยให้ภาพหลอดเลือดหัวใจชัดเจนขึ้น
  2. ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10–20 นาที ในห้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  3. ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารทึบรังสีผ่านทางหลอดเลือดดำบริเวณแขน
  4. ขณะตรวจควรมีอัตราการเต้นของหัวใจหรือชีพจรคงที่และไม่เกิน 60 ครั้งต่อนาที รวมทั้งไม่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มาบ่อย สำหรับผู้ที่มีหัวใจเต้นเร็วเกินไป แพทย์อาจให้ยาที่ทำให้หัวใจเต้นช้าลงหรือควบคุมหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  5. เมื่อสารทึบรังสีเข้าไปในร่างกายจนถึงหลอดเลือดหัวใจแล้ว เครื่องจะทำการถ่ายภาพหัวใจ ซึ่งในระหว่างการตรวจผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เช่น การกลั้นหายใจ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด
  6. สังเกตอาการของการแพ้สารทึบรังสีต่ออีก 30 นาที ก่อนอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
ผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ได้แก่
  • หญิงตั้งครรภ์หรือสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์
  • ผู้ที่เป็นหอบหืดรุนแรง
  • ผู้ที่เป็นโรคไตที่มีระดับครีเอตินินในเลือดสูง หรือมีภาวะไตวายเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการล้างไต
  • ผู้ที่แพ้สารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจอย่างรุนแรง
  1. การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถเห็นระบบเส้นเลือดและโครงสร้างของหัวใจทั้งหมด ช่วยวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจตีบและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน รวมถึงติดตามผลการรักษาหลังการทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน โดยจะแสดงภาพของหลอดเลือดหัวใจและบายพาสแต่ละเส้น ตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจที่ผิดปกติ รวมทั้งขดลวด (stent) ที่ใส่ไว้ในหลอดเลือดหัวใจ และบอกได้ถึงลักษณะผิดปกตินั้นว่าตีบมากน้อยเพียงใด
     
    การตรวจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ และผู้ที่เข้ารับการตรวจจะไม่ถูกเจาะหลอดเลือดแดงที่ขาหรือแขนเพื่อใส่สายสวน

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.46 of 10, จากจำนวนคนโหวต 59 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง