bih.button.backtotop.text

พลิกโฉมหน้าการรักษาโรคกระดูก ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุด

สาเหตุของอาการปวดข้อ

ข้อกระดูกนั้นอยู่ระหว่างกระดูกสองท่อนที่สัมผัสกันด้วยกระดูกอ่อน ทำให้ข้อต่อสามารถรองรับน้ำหนักและเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว แต่เมื่อใดก็ตามที่กระดูกอ่อนถูกทำลายไป ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุ ของการเสื่อมตามธรรมชาติ การอักเสบ การติดเชื้อ หรืออุบัติเหตุก็ตาม จะทำให้เกิดอาการปวด อักเสบ และเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่วเช่นเดิม

“แม้อาการปวดข้อจะเกิดจากสาเหตุ หลายประการ แต่โรคข้อเสื่อม (degenerative joint diseases) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยอาการของโรคคือการที่กระดูกอ่อน กร่อนบางลง ทำให้ข้อต่อไม่สามารถใช้งาน ได้ตามปกติ และเมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมบาง ไปหมด กระดูกทั้งสองท่อนจะเสียดสีกัน ทำให้เกิดความเจ็บปวดตามมา” นายแพทย์ สิทธิพรอธิบาย

ความชราก็เป็นสาเหตุหลักของโรค ข้อเสื่อมเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มี อายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ โรคอ้วน คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคข้อเสื่อม รวมถึงการมีสุขภาพโดยรวมไม่ดียังเพิ่ม ความเสี่ยงของการเป็นโรคได้มาก

“อาการแรกของโรคที่สังเกตได้คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกตึงหรือเจ็บปวด บริเวณข้อ และเคลื่อนไหวได้ลำบาก” นายแพทย์สิทธิพรอธิบาย “และจะ มีอาการปวดบวมบริเวณข้อเนื่องจากมีการสร้างน้ำไขข้อ (ที่ไม่ปกติ) เพิ่มขึ้น อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อข้อต้องรองรับน้ำหนักมากๆ” โรคข้อเสื่อมนั้นเป็นโรคที่มีพัฒนาการ นั่นคือ อาการของโรคจะแย่ลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยจะรู้สึก ปวดมากขึ้น ดังนั้น การวินิจฉัยและรักษาป้องกัน แต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นอาจนำไป สู่โรคร้ายแรงเกี่ยวกับข้อได้เช่นเดียวกับโรคข้อเสื่อม โรคเหล่านี้จะทำให้ข้อเจ็บปวดเรื้อรัง เคลื่อนไหว ยากและบวม “การปวดบวมอักเสบเรื้อรังทำให้ กระดูกและกระดูกอ่อนเสียหาย โรคข้อเสื่อม มักทำให้ปวดเข่าหรือขาเพียงข้างเดียว แต่โรค ข้ออักเสบรูมาตอยด์มักจะทำให้เจ็บปวดทั้งสองข้าง ในเวลาเดียวกัน” นายแพทย์สิทธิพร อธิบายเพิ่มเติม

 

การวินิจฉัยโรคและการรักษา

การวินิจฉัยสาเหตุของโรคข้อเสื่อมนั้น แพทย์จะต้องตรวจร่างกายโดยละเอียดและซักถามประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว นอกจากนี้อาจต้องทำการตรวจน้ำในข้อเข่า X-rays ทำ MRIScans รวมถึงผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำขึ้น รวมถึงทำให้ทราบถึงความร้ายแรงของอาการซึ่งบางครั้งอาจต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือการติดเชื้อ

ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่อาการไม่มากนั้นไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะมีแนวทางการรักษาดังนี้
  • ลดน้ำหนัก ในกรณีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • พักหรือปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำ ใช้ยา
  • แก้อักเสบรักษาหรือยาที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
  • รับยาเสริม เช่น Analgesics และGlucosamine
  • ทำกายภาพบำบัด
  • ใส่เฝือกหรือใช้เครื่องช่วยเดิน
 

ปฏิวัติการผ่าตัดใส่ข้อเทียม

ปฏิวัติการผ่าตัดใส่ข้อเทียม ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก จนกระทบกับการดำเนินชีวิตตามปกติ นายแพทย์สิทธิพรกล่าวว่า “การผ่าตัดใส่ ข้อเข่าหรือข้อสะโพกเทียมถือเป็นทางเลือก ที่ดีทางหนึ่ง” เมื่อสิบปีก่อน การผ่าตัดใส่ข้อเข่าหรือข้อ สะโพกเทียมอาจฟังดูรุนแรงและน่ากลัว แต่ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และวิธีการ รักษา ช่วยให้การผ่าตัดใส่ข้อเทียมได้ผลเป็น อย่างดีและไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป แต่กลับ เป็นการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม

ข้อเข่าคือบริเวณที่กระดูกขาท่อนบน (femur) มาบรรจบกับกระดูกขาท่อนล่างที่เรา เรียกว่าหน้าแข้ง (tibia) และสะบ้า โดยมีกระดูกอ่อน ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกอยู่บริเวณผิวกระดูก โดยทั่วไป เมื่อผ่าตัดเข่า แพทย์จะกำจัด ผิวกระดูกที่เสียบริเวณกระดูกขาท่อนบน ท่อนล่าง และสะบ้าออก จากนั้นจะทำการตกแต่งกระดูก บริเวณนั้นก่อนจะใส่ข้อเข่าเทียมเข้าไปแทน โดยส่วนใหญ่แล้ว การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาลเป็นเวลานานและ ใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหายเป็นปกติ “แต่ปัจจุบัน ผู้ป่วยใช้เวลาในโรงพยาบาลเพียง 4-7 วันเท่านั้น ส่วนระยะเวลาในการฟื้นตัวก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุ และปัจจัยอื่น ๆ ของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่เจ็บน้อยกว่า และหายเร็วกว่า นวัตกรรมใหม่ ๆ ทำให้วัสดุที่ใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมีรูปแบบหลากหลาย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่เทคนิกในการผ่าตัดก็พัฒนาขึ้นด้วย โดยทำให้ บาดแผลมีขนาดเล็กลงซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อโดยรอบน้อยลง “การผ่าตัดแบบแผลที่เล็กลงทำให้บริเวณกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และเส้นเอ็นมีการบาดเจ็บ น้อยลงในระหว่างการผ่าตัด หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะเจ็บน้อยลง สามารถลุกขึ้นเดิน ได้เร็วขึ้น และไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลนานอีกด้วย” คุณหมอสิทธิพรอธิบายเพิ่มเติม สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ภายใน 3 เดือน” คุณหมอสิทธิพรกล่าว เมื่ออาการหายดีแล้ว ผู้ป่วยต้องเข้ารับคำแนะนำในการออก กำลังกาย ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ออกกำลังกายประเภทที่ไม่ทำให้ เข่าต้องรับแรงกระแทกมากอย่างการว่ายน้ำและการเดิน เพื่อช่วยในการ ไหลเวียนของเลือด ทำให้กล้ามเนื้อมีความทนทาน ยืดหยุ่นและแข็งแรง ในการประคับประคองเข่า

การผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม สะโพกมีลักษณะเป็นข้อต่อขนาดใหญ่ที่รองรับน้ำหนักเกือบทั้งหมด ของร่างกาย รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยที่ส่วนหัวของกระดูกต้นขา (femoral head) มีลักษณะคล้ายลูกบอลที่อยู่ในเบ้าสะโพก (acetabulum) บริเวณเชิงกราน ชั้นของกระดูกอ่อนจะช่วยให้ส่วนหัวคล้ายลูกบอล เคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกภายในเบ้าสะโพก ในการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมนั้น แพทย์จะตัดส่วนของหัวคล้าย ลูกบอลออกและใส่ข้อสะโพกเทียมเข้าไปแทน โดยส่วนกระดูกอ่อนที่ เสียหายจะถูกกำจัดออกไปจากเบ้าด้วย เช่นเดียวกับการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม การผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากไม่ต้องอยู่ โรงพยาบาลนาน และยังฟื้นตัวได้เร็วกว่าการรักษาโรคแบบเดิม นอกจากนี้การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อสะโพกเทียมก็เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับผู้ป่วยที่อายุยังไม่มาก เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ยังเก็บรักษากระดูก ส่วนใหญ่ไว้ โดยที่แพทย์เพียงทำการกรอกระดูกส่วนที่เสียโดยไม่จำเป็น ต้องกำจัดออกทั้งหมด จากนั้นจึงจะทำการใส่วัสดุประเภทโลหะรูป ครึ่งวงกลมเข้าไปแทน ทำให้ผู้ป่วยอายุ 40 - 50 ปีสามารถกลับมา ใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างดี

 

การผ่าตัดใส่ข้อเทียมเหมาะสำหรับคุณหรือไม่

การผ่าตัดใส่ข้อเทียมได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยและให้ ผลการรักษาที่น่าพอใจ ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว ลดอาการเจ็บปวด และช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการ รักษาแบบอื่น อย่างไรก็ตาม การรักษาทุกวิธีย่อมมีความเสี่ยง แพทย์จะ เป็นผู้ให้คำแนะนำว่าการรักษาแบบใดเหมาะสำหรับสุขภาพของผู้ป่วย มากที่สุด

“ผู้ป่วยควรมีความคาดหวังต่อการรักษาที่อยู่บนพื้นฐานของความ เป็นจริงด้วย การผ่าตัดจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ ใกล้เคียงปกติโดยไม่เจ็บปวด แต่ก็คงไม่ถึงกับช่วยให้วิ่งมาราธอนได้นะครับ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน ก็ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัดใส่ข้อเทียม” คุณหมอ สิทธิพรกล่าวปิดท้าย

ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้ข้อต่อ การออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะทำให้กระดูก และข้อแข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคข้อแล้ว การออกกำลังกายยังจะช่วยลดอาการเจ็บและข้อตึงได้ ทั้งนี้ควร เลือกวิธีออกกำลังกายให้เหมาะสมที่ข้อไม่ต้องรับแรงกระแทก มาก ๆ เช่น การเดินหรือว่ายน้ำ ซึ่งปลอดภัยต่อข้อและ กระดูกมากกว่าการจ็อกกิ้ง โดยผู้ป่วยควรขอคำแนะนำจาก แพทย์ก่อนเลือกวิธีออกกำลังกาย ยืดเส้นยืดสาย การวอร์มอัพบริเวณหน้าขา และน่องเบา ๆ โดยการยืดเส้นยืดสายจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว แข็งแรง จึงเป็นการลดแรงกดที่หัวเข่าและสะโพกในระหว่าง การออกกำลังกายได้ เพิ่มความแข็งแกร่ง การออกกำลังกายแบบเสริมสร้าง กล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะช่วยในการพยุง กระดูกและข้อต่อให้มั่นคงขึ้น กีฬาว่ายน้ำนั้นเหมาะ อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคข้อเสื่อม เพราะช่วยให้ เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น อีกทั้ง น้ำยังช่วยลดแรงกระแทกบนสะโพก หัวเข่าและกระดูกสันหลังอีกด้วย การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อไม่จำเป็นต้อง หักโหมเสมอไป เพียงหมั่นเคลื่อนไหวออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอก็เพียงพอแล้ว เช่น เดินออกกำลังกาย (ห้ามเดิน ในทางลาดเอียง หรือเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ) หรือเดินเล่นกับ ครอบครัวหลังอาหารเย็น เพียงเท่านี้ก็เสริมสร้างความแข็งแรง ให้กระดูกและข้อต่อได้เช่นกัน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs