bih.button.backtotop.text

ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา

จากการสำรวจภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางในปี 2557 พบว่าคนไทยมีปัญหาตาบอดร้อยละ 0.6 และสายตาเลือนรางถึงร้อยละ 12.6 ซึ่งภาวะตาบอดป้องกันได้กว่าละร้อยละ 92 และรักษาได้กว่าร้อยละ 76.8 ดังนั้นหากมีอาการที่แสดงว่ากระจกตามีปัญหา เช่น มองไม่ชัด ดวงตาไม่สู้แสง ค่าสายตาเปลี่ยนบ่อยหรือกระจกตาขุ่นมัว ควรมาพบแพทย์ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้นจนเกิดภาวะตาบอด การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาอาการของโรคหรือบาดแผลที่กระจกตา ทำให้การมองเห็นดีขึ้น

ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา ให้บริการดูแลรักษาโรคและอาการต่างๆเกี่ยวกับกระจกตาโดยเฉพาะโรคที่ซับซ้อนอย่างครอบคลุมเป็นแห่งแรกของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ประกอบทีมจักษุแพทย์ผู้มีประสบการณ์และความชำนาญการขั้นสูงในการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาและการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะชั้นที่มีปัญหาโดยเก็บกระจกตาชั้นที่ดีไว้ได้ ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการตรวจวินิจฉัย รักษาและติดตามผลการรักษา
การบริการของศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา
Cornea-Transplant_landing-page-TH-01.jpg

บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคกระจกตาดังนี้

การตรวจวินิจฉัย
  • การตรวจประเมินความสามารถในการมองเห็นของสายตา
  • การวัดค่าสายตา
  • การวัดความโค้งกระจกตา
  • การวัดความดันลูกตา
  • ทดสอบการทำงานของกล้ามเนื้อตา
  • ตรวจสุขภาพตาส่วนหน้า ได้แก่ กระจกตา เยื่อบุตา ม่านตา รูม่านตา
  • ตรวจสุขภาพตาส่วนหลัง ได้แก่ จอประสาทตา น้ำวุ้นตา ขั้วประสาทตา

Cornea-Transplant_landing-page-TH-02.jpgCornea-Transplant_landing-page-TH-03.jpg
Cornea-Transplant_landing-page-TH-04.jpg

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Corneal Transplantation)
  • การปลูกถ่ายกระจกตาทุกชั้น (Penetrating keratoplasty)
  • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้น (Lamellar keratoplasty) เป็นการปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นที่มีโรคหรือความผิดปกติ ช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการปลูกถ่ายกระจกตาทุกชั้นและทำให้แผลมีขนาดเล็กลง
    • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นหน้า/ชั้นบน โดยเปลี่ยนกระจกตาตั้งแต่ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวกระจกตา (corneal epithelium) ชั้น Bowman (Bowman layer) และชั้นโครงกระจกตาหรือ corneal stroma
    • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นใน (Endothelial keratoplasty) ตั้งแต่ชั้นล่างของ stroma ชั้น Descemet’s membrane และชั้นเนื้อเยื่อบุโพรงกระจกตา (corneal endothelium)
การรักษาโรคของกระจกตาด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Phototherapeutic Keratectomy: PTK) เป็นวิธีการรักษาโรคกระจกตาหลายชนิด เช่น โรคกระจกตาเสื่อมจากกรรมพันธุ์ แผลเป็นของกระจกตาที่อยู่ในชั้นตื้น การแก้ไขภาวะผิวกระจกตาไม่เรียบ

การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลตเอ (Corneal collagen cross-linking) เพื่อเสริมความแข็งแรงเส้นใยคอลลาเจนในกระจกตาทำให้กระจกตาแข็งแรง เป็นการรักษาโรคกระจกตาย้วยโดยช่วยชะลอหรือหยุดการโก่งตัวของกระจกตาไม่ให้เป็นมากขึ้น ทำให้การมองเห็นคงที่หรือดีขึ้น

การผ่าตัดใส่วงแหวน (Intrastromal Corneal Ring Segment) เป็นการรักษาโรคกระจกตาย้วยโดยการสอดวัสดุวงแหวนเข้าไปในเนื้อ ทำให้โครงสร้างของกระจกตาแข็งแรงขึ้น ช่วยชะลอหรือหยุดการโก่งตัวของกระจกตา
Cornea-Transplant_landing-page-TH-05.jpg
 
  • โรคกระจกตารูปร่างผิดปกติ
อาการที่กระจกตาบางส่วนมีการนูนตัวขึ้นมา ทำให้กระจกตามีความผิดปกติ แบ่งได้หลายประเภท เช่น กระจกตาย้วย กระจกตาโป่งพอง กระจกตาโก่ง เกิดจากบางส่วนของกระจกตาเกิดการบางตัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ความดันภายในลูกตา ดันกระจกตาส่วนที่บางให้นูนขึ้นมา ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น มองเห็นภาพเบลอ บิดเบี้ยว ดวงตาไวต่อแสง และอาจต้องเปลี่ยนแว่นสายตาอยู่บ่อย ๆ มักจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น จนแย่ลงภายในระยะเวลาประมาณ 10–20 ปี  
 
  • โรคกระจกตาอักเสบ
เป็นการอักเสบที่เนื้อเยื่อกระจกตา มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือการบาดเจ็บของกระจกตา ซึ่งทำให้มีอาการตาแดง เจ็บตา มีขี้ตา ตามัว สู้แสงไม่ได้ มีน้ำตาไหลมากตลอดเวลา เกิดขึ้นบ่อยกับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ โดยอาการและความเร็วของการดำเนินโรคจะขึ้นกับความรุนแรงของเชื้อ นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่น กระจกตาทะลุ การอักเสบลุกลามเข้าไปในน้ำวุ้นตา ต้อหินแทรกซ้อน ต้อกระจกแทรกซ้อน
 
  • โรคกระจกตาเสื่อม
มักเกิดจากพันธุกรรม ทำให้เซลล์ของกระจกตาทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานตามปกติทำให้มองภาพได้ไม่ชัด  

 
  • โรคกระจกตาเป็นแผล
การเกิดรอยถลอกบริเวณกระจกตาและอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ ถ้าแผลเล็กและตื้นจะหายได้ภายใน 2 – 3 วัน แต่ถ้าแผลลึกมากอาจจะเกิดเป็นแผลเป็น ทำให้กระจกตาบริเวณที่มีแผลเป็นนั้นทึบแสงหรือแสงผ่านได้น้อย ส่งผลให้ตามัวมองเห็นไม่ชัด
 
  • โรคกระจกตาบวม
เกิดจากเซลล์ชั้นที่ 5 Endothelial cell ของกระจกตาด้านในสุด มีปริมาณเซลล์น้อยลงจนไม่สามารถทำงานได้ปกติ ทำให้การดูดน้ำออกจากกระจกตาแย่ลง กระจกตาจึงไม่สามารถคงความใสได้ เนื่องจากน้ำเข้าไปแทรกด้านในมีปริมาณมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการกระจายแสง ทำให้กระจกตาบวมน้ำ สาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรมกระจกตาเสื่อมที่ถ่ายทอดจากยีนเด่น , โรคต้อหิน , การติดเชื้อเริมหรืองูสวัด หรืออุบัติเหตุ
 
  • ภาวะปฏิเสธกระจกตาที่ปลูกถ่าย
เกิดจากร่างกายปฏิเสธกระจกตาที่นำมาปลูกถ่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรับรู้ว่ากระจกตาที่ได้รับบริจาคเป็นสิ่งแปลกปลอมและพยายามทำลาย ทำให้มีอาการต่างๆ เช่น การมองเห็นลดลง มีอาการตาแดง อาการระคายเคือง น้ำตาไหล และอาการแพ้แสง 
 
ทีมแพทย์ของเราประกอบจักษุแพทย์ผู้ชำนาญด้านผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา) และแพทย์สาขาต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จิตแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา แพทย์ผู้ชำนาญในสาขาต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน วิสัญญีแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคตาโดยเฉพาะ
 
  • Corneal Topographer เครื่องมือถ่ายภาพพื้นผิวกระจกตาและวัดความหนากระจกตา
  • เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตาชนิดมุมกว้าง (CLARUS)
  • เครื่อง eye screening: Anterior Segment
  • เครื่องนับเซลล์เนื้อเยื่อตา

พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - กระจกตา
จักษุวิทยา - การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา - ต้อกระจก

ดูประวัติ

ผศ.พญ. ลลิดา ปริยกนก

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - กระจกตา
จักษุวิทยา - การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา - ต้อกระจก

ดูประวัติ

นพ. ธีรวีร์ หงษ์หยก

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - กระจกตา
จักษุวิทยา - การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา - ต้อกระจก

ดูประวัติ

พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - กระจกตา
จักษุวิทยา - การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา - ต้อกระจก

ดูประวัติ

พญ. วธูกานต์ รุ่งภูวภัทร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - กระจกตา
จักษุวิทยา - การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา - ต้อกระจก

ดูประวัติ
    Scroll for more

Contact Number

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา
    Service Hours: 8.00-20.00 (BKK Time)
    นอกเวลาทำการ ติดต่อแผนกฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง 

Location

  • ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา
    อาคาร A ชั้น 18 
คะแนนโหวต 4.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs