bih.button.backtotop.text

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งสำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างไม่หยุดยั้งจนควบคุมไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลาเป็นปี ในระยะแรกๆ เซลล์อาจเป็นเพียงแค่ติ่งเนื้อธรรมดา แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง ติ่งเนื้อนี้อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
แม้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ เช่น
  • มีประวัติติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ ซึ่งปกติจะพบที่ผนังลำไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากเวลาผ่านไป ติ่งเนื้อบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนที่อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป แต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น
  • มีประวัติของโรค IBD (inflammatory bowel disease) คือ โรค ulcerative colitis และ Crohn’s disease ซึ่งอาจกลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปีมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น
  • การไม่ออกกำลังกายและความอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
  • การสูบบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
ในบางครั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการผิดปกติบ่งชี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือบางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
  • ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด
  • อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก
  • ลักษณะอุจจาระมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น เรียวยาวกว่าปกติ หรือเป็นเม็ดๆ
  • ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง
  • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง
  • โลหิตจาง
การตรวจประเมินเบื้องต้น เป็นวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสามารถแยกติ่งเนื้อที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ แนะนำให้เริ่มตรวจประเมินเบื้องต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 45 ปี โดยวิธีการตรวจประเมินเบื้องต้นทำได้ดังนี้
การวินิจฉัยโรคแพทย์จะใช้วิธีตรวจหลายๆ วิธีเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่และมีการแพร่กระจายไปที่ใดแล้วหรือไม่ โดยแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ประกอบ เช่น อายุและสุขภาพ ประเภทของมะเร็ง ระดับความรุนแรงของอาการ และผลการตรวจสอบก่อนหน้านี้ เป็นต้น โดยวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้ดังนี้
  • การตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เป็นวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แม่นยำที่สุดและเป็นมาตรฐานของการวินิจฉัยโรค และเพื่อการตรวจทางชีวโมเลกุลของมะเร็ง
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography scan หรือ CT scan) สามารถใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของโรคและการกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
  • การตรวจอัลตราซาวนด์ เป็นการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง วิธีนี้จะบอกได้ว่ามะเร็งได้แพร่กระจายสู่ตับหรืออวัยวะอื่นๆ หรือไม่
  • การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังปอดหรือไม่
  • Positron emission tomography (PET) scan เป็นการตรวจโดยการฉีดสารรังสีให้ถูกดูดซึมในอวัยวะและเนื้อเยื่อ และทำการถ่ายภาพ ทำให้สามารถตรวจได้ทั้งร่างกาย
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
  • ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
  • ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
ทำได้โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไหม้เกรียมซึ่งมีสารก่อมะเร็ง รับประทานผักให้มากขึ้น และออกกำลังกายสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง 20-40 นาที และวิธีการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุดคือ เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เมื่อมีอายุ 45 ปีขึ้นไปและตรวจซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

เอสเพอรานซ์

คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมมะเร็ง

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักครบวงจร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.64 of 10, จากจำนวนคนโหวต 100 คน

Related Health Blogs