bih.button.backtotop.text

ภาวะสายตาผิดปกติ

ภาวะสายตาผิดปกติที่พบได้ทั่วไป 4ชนิด ได้แก่ สายตาสั้น, สายตายาว, สายตาเอียง, สายตายาวสูงอายุ ซึ่งสามารถรักษาแบบถาวรด้วยการใช้เลเซอร์ชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสมในแต่ละชนิดของภาวะค่าสายตาผิดปกติ

ภาวะสายตาผิดปกติ และวิธีการรักษา (VDO):

imag_relex-smile_nologo-(1).jpg

สายตาสั้น

ภาวะที่แสงหักเหและไปโฟกัสที่ด้านหน้าของจอประสาทตาแทนที่จะโฟกัสไปลงตรงจอประสาทตา ทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจนแต่มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ไม่ชัด โดยพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งภาวะสายตาสั้นนี้

การรักษาแบบไม่ถาวร

  • แว่นสายตา แว่นสายตาทำจากเลนส์เว้าซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายแสง ช่วยแก้ปัญหาสายตาสั้นได้ แต่อาจทำให้ไม่คล่องตัว
  • เลนส์สัมผัส ทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ต้องดูแลทำความสะอาดให้ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่กระจกตา นอกจากนี้การใส่เลนส์สัมผัสนานๆทำให้เซลล์ผิวเสื่อมได้ในระยะยาว ตาแห้ง ภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา จนทำให้การใส่เลนส์มีปัญหาและรับเลนส์ไม่ได้ในที่สุด

การรักษาแบบถาวร

ทำได้โดยการผ่าตัดแก้ไขสายตา ด้วยการใช้เลเซอร์ทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ ReLEx SMILE, Femto-LASIK, และ PRK

การป้องกัน

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง โดยลดกิจกรรมที่ใช้สายตาระยะใกล้ (near work activity) และเพิ่มกิจกรรมกลางแจ้ง (outdoor activity) ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน เช่น เล่นกีฬา เดินเล่นนอกบ้าน
  • เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตาใกล้ๆให้ถือหนังสือหรือแท็บเล็ตห่างจากตาอย่างน้อยหนึ่งศอก
  • พักสายตาบ่อยๆเมื่อทำกิจกรรมที่ใช้สายตาระยะใกล้ เช่น ทำการบ้าน ใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ โดยปฏิบัติตามกฎ 20/20/20 คือ ทุกๆ 20 นาที ในการมองใกล้ให้พักสายตาด้วยการมองระยะไกลประมาณ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที

สายตายาว คือ ภาวะที่แสงหักเห และไปโฟกัสที่ด้านหลังต่อจอประสาทตา ทำให้การมองเห็นไม่ชัดทั้งที่ใกล้ และที่ไกล

การรักษาแบบไม่ถาวร

  • แว่นสายตา เป็นทางเลือกที่นิยมเพราะปลอดภัย กรอบและเลนส์ที่แข็งแรงอาจช่วยป้องกันดวงตาจากอุบัติเหตุได้บางส่วน การแก้ไขทำได้โดยการใส่แว่นเลนส์ที่ทำจากเลนส์นูน
  • เลนส์สัมผัส สำหรับสายตายาวโดยเฉพาะ

การรักษาแบบถาวร

ทำได้โดยการผ่าตัดแก้ไขสายตา ด้วยการใช้เลเซอร์ทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ Femto-LASIK, และ PRK

การป้องกัน

ภาวะสายตายาวแต่กำเนิดป้องกันไม่ได้ แต่ตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการพาเด็กมาพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตา ผู้ที่มีสายตายาวแต่กำเนิดมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตาอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก ดังนั้นจึงควรตรวจตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้ง

บทความและวีดีโอที่เกี่ยวข้อง

4 ภาวะสายตาผิดปกติ และวิธีการรักษา ทางเลือกในการแก้ไขสายตา วิธีไหนบ้างที่เหมาะสำหรับคุณ?
Layout-Refractive-errors-thumbnail_Web-1200x628-without-logo-(1).jpg Layout-ทางเลอกในการแกไขสายตา-วธไหนบางทเหมาะสำหรบคณ-Blog_Blog-Cover-(1).jpg
อ่านเพิ่มเติม > อ่านเพิ่มเติม >
   
บอกลาสายตายาวตามวัย ด้วยเทคโนโลยี FemtoLASIK PRESBYOND  
Layout-กบอกลาสายตายาวตามวย-ดวยเทคโนโลย-FemtoLASIK-Blog_Blog-Cover-(1).jpg  
อ่านเพิ่มเติม >  

ภาวะสายตาเอียง คือ ภาวะที่แสงหักเห ไม่เท่ากันในแต่ละแกน ทำให้เกิดจุดโฟกัสเป็นสองจุด ที่ด้านหน้า หรือ หลังต่อจอประสาทตาก็ได้ จึงมองเห็นเป็นภาพซ้อน และอาจพบร่วมกับภาวะผิดปกติชนิดอื่น เช่น สายตาสั้น และสายตายาวได้

การรักษาแบบไม่ถาวร

  • แว่นสายตา โดยใช้เลนส์ทรงกระบอกหรือ cylindrical lens
  • เลนส์สัมผัส ที่ใช้สำหรับช่วยแก้ไขค่าสายตาเอียงโดยเฉพาะ

การรักษาแบบถาวร

ทำได้โดยการผ่าตัดแก้ไขสายตา ด้วยการใช้เลเซอร์ทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ ReLEx Smile, Femto-LASIK และ PRK

การป้องกัน

สายตาเอียงป้องกันไม่ได้ แต่สามารถดูแลดวงตาเพื่อลดโอกาสที่จะรุนแรงมากขึ้นในอนาคตด้วยวิธีการดังนี้
  • ใช้สายตาในที่ ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สายตานานๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ดูทีวี อ่านหนังสือ ให้พักสายตาเป็นระยะๆ
  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตาเพื่อป้องกันไม่ให้กระจกตากระทบกระเทือน
  • รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอีและลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เช่น ผักใบเขียวและผลไม้

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เลเซอร์สายตา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 6 คน

Related Health Blogs