bih.button.backtotop.text

ภาวะการมีบุตรยากในเพศชาย 

ภาวะการมีบุตรยาก (Male Infertility) คือ การที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ หลังจากมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ได้คุมกำเนิดมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี ภาวะการมีบุตรยากในเพศชายหมายถึงผู้ชายไม่สามารถทำให้คู่ครองตั้งครรภ์ได้ โดยมีปัจจัยจากฝ่ายชายเป็นต้นเหตุ ลองศึกษาว่าอะไรคือสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในเพศชายและปรึกษากับแพทย์ของคุณว่าสามารถแก้ปัญหาและรักษาภาวะการมีบุตรยากของคุณได้หรือไม่

สาเหตุคืออะไร
สาเหตุจากฝ่ายชายที่ไม่สามารถทำให้คู่ครองตั้งครรภ์ได้ อาจรวมไปถึงอาการเจ็บป่วยต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ (hypogonadism) ซึ่งเป็นการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกอัณฑะไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนซึ่งทำให้เป็นโรคอ้วนเกินอย่างรุนแรง เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroidism)
  • อาการเส้นลำเลียงน้ำเชื้ออสุจิโป่งพอง (varicocele) ซึ่งเป็นอาการที่หลอดเลือดดำภายในถุงอัณฑะโป่งพอง ทำให้ขัดขวางการเคลื่อนตัวของอสุจิ
  • ภาวะโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งการทำลายระบบประสาทอาจเป็นสาเหตุของปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศหรือการหลั่งน้ำอสุจิ
  • โรคทางพันธุกรรมซึ่งทำให้ความสามารถในการผลิตอสุจิลดลง เช่น โรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
  • อัณฑะบิด (testicular torsion) ซึ่งทำให้การส่งเลือดไปที่ลูกอัณฑะถูกตัดขาด
  • ภาวะที่ลูกอัณฑะไม่เข้าสู่ถุงอัณฑะ
โรคร้ายแรงที่อาจมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ตัวอย่างเช่น
  • การผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นเหตุทำให้ร่างกายสร้างสารแอนตี้บอดี้ที่เป็นอันตรายต่ออสุจิ
  • โรคตับ
  • โรคเม็ดเลือดขาวรูปเคียว (sickle cell anemia)
  • โรคไต
  • การติดเชื้อที่ระบบอวัยวะเพศ เช่น โรคหนองใน และ โรคเริมอวัยวะเพศ
  • การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบและโรคท่อน้ำเชื้ออักเสบ
  • โรคติดเชื้อ รวมถึงโรคคางทูมด้วย
ปัจจัยเพิ่มเติมที่มีผลต่อภาวะมีบุตรยากรวมไปถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้
  • ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยา cimetidine และ ยา phenytoin
  • อาหารเสริมบางชนิด เช่น สเตียรอยด์อนาบอลิก
  • เคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
  • ขาด folic acid และ lycopene ซึ่งพบมากในผัก เช่น มะเขือเทศ
  • ออกกำลังกายมากเกินไป ซึ่งมีผลให้ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำและลดการผลิตอสุจิ
  • ใช้ยาคุมกำเนิด diethylstilbestrol หรือที่รู้จักกันว่า DES
  • ได้รับสารพิษเช่น ตะกั่ว ทองแดง หรือยาฆ่าแมลง
  • การอาบน้ำด้วยน้ำร้อนหรือนอนแช่ในน้ำร้อนบ่อยๆ
  • ได้รับบาดเจ็บที่ลูกอัณฑะ
  • มีจำนวนเสปิร์มน้อย อ่อนแอ และมีความสามารถในการเคลื่อนที่ต่ำ
  • การรักษาโรคด้วยรังสี
  • ยาหรือสารที่ใช้เพื่อความสนุกสนาน (recreational drugs) เช่น แอลกอฮอล์ และกัญชา
  • ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เช่น การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และการหลั่งเร็ว
  • ผลข้างเคียงในการรักษาโรคมะเร็งลูกอัณฑะหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การผ่าตัดอวัยวะระบบสืบพันธุ์ เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมากโต
  • การทำหมันด้วยการผ่าตัดเพื่อผูกท่อนำอสุจิ
  • ใส่กางเกงหรือกางเกงในที่รัดจนเกินไป
ภาวะการมีบุตรยากในเพศชายเกิดขึ้นเมื่อคู่ของผู้ชายไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายในหนึ่งปีของการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด สัญญาณและอาการอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก
การวินิจฉัยภาวะการมีบุตรยากเริ่มด้วยการสืบประวัติการรักษาและตรวจร่างกายของผู้ป่วย อาจมีการตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของฮอร์โมนและโรคอื่นๆ เก็บตัวอย่างน้ำอสุจิเพื่อนำมาตรวจสอบเรื่องปริมาณตัวอสุจิและความสามารถในการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิว่าเป็นอย่างไร
การรักษาภาวะการมีบุตรยากของเพศชายจะมุ่งไปยังการรักษาที่สาเหตุของโรคนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีคู่สมรสประมาณ 15 – 20 % สามารถตั้งครรภ์ได้โดยไม่ต้องทำการรักษาใด การรักษาสำหรับภาวะการมีบุตรยากจากฝ่ายชายนั้น ได้แก่
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำด้วยน้ำร้อนและการนอนแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลานานๆ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายในปริมาณที่พอเหมาะ
  • รักษาอาการเส้นเลือดขอดที่ลูกอัณฑะ
  • ผ่าตัดเพื่อยกเลิกการทำหมันแบบผูก โดยการเชื่อมต่อท่อนำเชื้ออสุจิอีกครั้ง
  • ศึกษาเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งครรภ์
  • ปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่จำกัด
  • รักษาบำบัดเกี่ยวกับปัญหาด้านฮอร์โมน
  • รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วยการปรึกษา การรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัด
  • สวมใส่กางเกงในที่ไม่รัดแน่น เช่น กางเกงในประเภทบ็อกเซอร์
หากการรักษาดังกล่าวไม่ได้ผล อาจพิจารณานำวิธีการที่ช่วยเรื่องการมีบุตรมาให้บริการ เช่น
  • การผสมเทียม โดยการนำเชื้ออสุจิใส่ที่บริเวณปากมดลูกหรือมดลูกโดยตรง
  • การปฏิสนธินอกร่างกาย โดยการนำตัวอ่อนและอสุจิมาผสมกันเป็นตัวอ่อนนอกร่างกาย แล้วนำกลับเข้าไปใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้ตั้งครรภ์
  • การฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ วิธีนี้เป็นการทำนอกร่างกายโดยการเจาะผนังเซลล์ไข่เพื่อนำอสุจิเข้าสู่ไข่โดยตรง
ภาวะการมีบุตรยากอาจหลีกเลี่ยงได้โดยการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและการรักษาด้วยยาที่ทราบว่าเป็นสาเหตุของปัญหาภาวะการมีบุตรยาก
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่มีพิษต่อสภาพแวดล้อม เช่น ยาฆ่าแมลง
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำด้วยน้ำร้อนหรือการนอนแช่ในน้ำร้อนบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงหรือกางเกงในที่รัดแน่นเกินไป
  • รับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกเพียงพอ
  • เข้ารับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เสียแต่เนิ่นๆ
  • ตรวจสุขภาพร่างกายอยู่สม่ำเสมอ เพื่อสังเกตได้ถึงสัญญาณที่บ่งถึงการติดเชื้อหรือความผิดปกติอื่นๆ
  • ควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในระดับปกติ เช่น โรคเบาหวาน และภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์
  • มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทไลโคปีน
  • สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันลูกอัณฑะขณะออกกำลังกาย

ถึงแม้ว่ายังต้องมีการทำการวิจัยกันต่อไป แต่ก็เป็นไปได้ที่พ่อแม่อาจต้องพิจารณาเลือกใช้ผ้าอ้อมชนิดใช้แล้วทิ้งสำหรับทารกเพศชาย เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุของภาวะการมีบุตรยากเมื่อโตขึ้น

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์การเจริญพันธุ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.83 of 10, จากจำนวนคนโหวต 23 คน

Related Health Blogs