โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ศ.ดร.เกษม เป็นโรคกระเพาะอาหารมานาน
จนภายหลังเริ่มมีอาการปวดท้องบ่อยขึ้น
ลูกศิษย์แนะนำให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
บำรุงราษฎร์ เมื่อปี พ.ศ.2551 ได้ทำการส่องกล้อง
พบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 และได้รับ
การรักษาโดยการผ่าตัด ปัจจุบันตรวจลำไส้โดย
การส่องกล้องทุกปี ไม่พบอาการผิดปกติ
รายละเอียดเพิ่มเติม

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหาร

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีคณะแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ท่านในสาขาต่างๆ ทั้งการรักษาโรคในระบบ
ทางเดินอาหาร โรคตับ รวมถึงการใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อตรวจ
วินิจฉัยและรักษา โดยแพทย์ทุกท่านล้วนผ่านการฝึกอบรมจาก
สถาบันทางการแพทย์ชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น

ให้การรักษาครอบคลุมทุกโรคของระบบทางเดินอาหาร

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้บริการ
ตรวจวินิจฉัยและรักษาทุกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
ไม่ว่าจะเป็นอาการที่เกี่ยวกับโรคตับ โรคท่อทางเดินน้ำดีและ
โรคตับอ่อน การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร มะเร็งในระบบ
ทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารในเด็ก และความผิดปกติ
อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงยังให้บริการปลูกถ่ายตับ
โดยผ่านการรับรองจากสภากาชาดไทยอีกด้วย

ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสม

เพราะระบบทางเดินอาหารมีการทำงานที่ซับซ้อน การวินิจฉัยโรค
ในระบบทางเดินอาหารที่แม่นยำจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์และ
ความชำนาญของแพทย์ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาล
บำรุงราษฎร์ ให้บริการผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยจากทั่วโลก
ทั้งชาวตะวันตก ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประมาณ 4,000 กว่ารายต่อเดือน คณะแพทย์จึงมีประสบการณ์
ในการวินิจฉัยและรักษาโรคที่หลากหลาย สามารถหาสาเหตุของ
ปัญหาและแก้ไขได้อย่างตรงจุด

การวินิจฉัยและรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ครบครัน

นอกเหนือจากประสบการณ์ที่หลากหลายของคณะแพทย์แล้ว
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังพร้อม
ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครันเพื่อการ
ตรวจวิเคราะห์โรคอย่างครอบคลุม อาทิ การวัดการบีบตัวของ
ทางเดินอาหาร การตรวจวัดภาวะความเป็นกรดในหลอดอาหาร
ตลอด 24 ชั่วโมง การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
และลำไส้ใหญ่ การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้อง
ที่ติดอัลตราซาวนด์ การให้การรักษาโรคระบบทางเดินน้ำดีและ
ตับอ่อนโดยการส่องกล้อง การตรวจลำไส้เล็กด้วยกล้องแคปซูล
การตรวจหาภาวะตับแข็งโดยใช้ Fibroscan และการตรวจ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่องท้อง (CT scan)

ทั้งนี้ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้จัด
เตรียมห้องเตรียมผู้ป่วยสำหรับการส่องกล้องพร้อมด้วยห้องน้ำ
ในตัวทุกห้องเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกสบายและ
ความเป็นส่วนตัวมากที่สุด

การติดต่อสอบถาม

หากคุณหรือคนที่คุณรักมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร
สามารถทำการนัดหมายเพื่อขอรับคำปรึกษาได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

โทร 0-2667-1000 หรือคลิก รายชื่อแพทย์
เพื่อดูรายละเอียดและตารางการออกตรวจของแพทย์

 

 
ค้นหาแพทย์นัดหมายแพทย์ ติดต่อเรา

 

ผศ.นพ. ยุทธนา ศตวรรษธำรง ผศ.นพ. ยุทธนา ศตวรรษธำรง
   
 
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ใน
    ประเทศไทย จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
    ปี พ.ศ.2553 มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2
    ในเพศชาย และเป็นอันดับ 3 ในเพศหญิง โดยร้อยละ 90
    มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  • ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
    ได้แก่ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
    มีประวัติเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมีเนื้องอกที่ลำไส้ใหญ่
    พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มี
    ไขมันสูง เนื้อแดง มีกากใยน้อย และขาดการออกกำลังกาย
    นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคในกลุ่มอาการอักเสบ
    เรื้อรังในลำไส้ IBD (inflammatory bowel disease) จะมีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการปวดท้อง
    ในบางรายอาจไม่มีอาการแสดง โดยอาการเตือนที่บ่งบอก
    ถึงความผิดปกติของลำไส้ ได้แก่ ท้องผูกสลับท้องเสีย
    อุจจาระก้อนเล็กลง อุจจาระมีเลือดปน เบื่ออาหาร น้ำหนัก
    ตัวลดลงหรือซีดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งหากมีอาการผิดปกติ
    ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ
  • ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติ
    ครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรเข้ารับการ
    ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่สม่ำเสมอ โดยมีวิธี
    ในการตรวจ เช่น การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือด
    ในอุจจาระ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และการ
    ตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งการ
    ตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิ
    ผลของการรักษาได้
  • การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ทำได้โดยการผ่าตัดเอา
    ก้อนมะเร็งและลำไส้ส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออกทั้งหมด
    หากจำเป็นอาจต้องใช้การฉายรังสีและการให้ยาเคมี
    บำบัดร่วมด้วย